Saturday, February 18, 2023

What is JIT?

 JIT stands for "just-in-time" and is a production strategy that aims to minimize inventory and storage costs by producing or ordering materials and components only when they are needed in the production process. JIT is also known as lean manufacturing or the Toyota Production System, as it was first developed and implemented by the Toyota Motor Corporation in the 1970s.

Under the JIT system, materials and components are delivered to the production line just in time to be used in the manufacturing process, minimizing the need for storage space and reducing the risk of excess inventory. This approach allows manufacturers to reduce their lead times, improve quality control, and reduce waste and costs associated with inventory management.

JIT production relies on close collaboration between suppliers, manufacturers, and customers to ensure that materials and products are delivered and produced on schedule. The system requires accurate forecasting and planning to ensure that materials are available when they are needed in the production process.

In addition to minimizing inventory costs, JIT production can also lead to increased productivity, better quality control, and faster turnaround times. However, it requires a high level of coordination and communication between all parties involved in the production process, and can be challenging to implement in complex manufacturing environments.

How to manage manufacturing cost?

 Managing manufacturing costs is an essential aspect of running a successful manufacturing business. Here are some tips to help you manage manufacturing costs:

Optimize your production process: Streamline your production process to minimize waste and reduce production time. Identify and eliminate any bottlenecks in the process to increase efficiency and reduce costs.

Control inventory: Keep inventory levels low and avoid overstocking to minimize storage and holding costs. Use just-in-time (JIT) inventory management to ensure you have the necessary materials and components on hand when you need them.

Negotiate with suppliers: Negotiate favorable terms with your suppliers to reduce the cost of raw materials and components. Consider long-term contracts and bulk purchasing to secure lower prices.

Invest in automation: Automate repetitive and labor-intensive processes to reduce the need for manual labor and increase efficiency. This can help reduce labor costs and improve production speed and quality.

Monitor and analyze production data: Track and analyze key performance indicators (KPIs) to identify areas where you can improve production efficiency and reduce costs. Use data to optimize your production process and identify opportunities for cost savings.

Continuously improve: Continuously seek ways to improve your manufacturing processes and reduce costs. Embrace a culture of continuous improvement to ensure that you are always looking for ways to make your manufacturing process more efficient.

By implementing these strategies and continuously monitoring and optimizing your manufacturing processes, you can effectively manage manufacturing costs and improve the profitability of your business.

Friday, January 4, 2019

การแข่งขันด้านราคาจนลืมวิเคราะห์ต้นทุน

หลายๆ  ธุรกิจ โดยเฉพาะเอสเอ็มอี ได้เกิดขึ้นมาใหม่ก็มาก ล้มหายตายจากไปก็มาก สาเหตุส่วนใหญ่ อย่าวกนึ่งมาจากการที่มองข้ามเรื่องการวิเคราะห์ต้นทุนเป็นเป็นเรื่องเป็นราว ไม่ได้มีกลยุทธ์ใหม่ ที่แตกต่างออกมาแข่งขัน เน้นที่การลดราคาซะมากกว่า บางครั้งลดมากเกินไปเพื่อที่จะได้ขาย โดยไม่ทราบถึงต้นทุนแฝงต่างๆ พอปิดบัญชีตอนสิ้นเดือนปรากฎว่าไม่มีเงินอยู่เลย ต้องหมุนเงินไปเรือยๆ ติดลบสะสมทุกๆ เดือน อยู่ที่ว่าใครจะมีทุนสำรอวมากกว่ากัน สุดท้ายก็ตายอยู่ดี ต่างกันที่ช้ากับเร็วเท่านั้น
ดังนั้น เราควรศึกษาเรื่องการวิเคระห์ต้นทุน พร้อมทั้งแจกแจงราบละเอียดให้ชัดเจน

Monday, January 9, 2017

โลจิสติกส์ (Logistic)



ระบบโลจิสติกส์ เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การเคลื่อนย้ายสินค้า เริ่มตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ นำไปเก็บรักษา แปรรูป บริหารคงคลัง การนำส่งให้กับลูกค้า.
ดังนั้นการนำระบบระบบโลจิสติกส์เข้ามาเพื่อช่วยในการวางแผน วิเคราะห์ และควบคุมจะช่วยในการลดต้นทุนการผลิตได้เป็นอย่างมาก ดังตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในปัจจุบันและใกล้ตัวผู้บริโภคอย่างเราๆ เช่น ร้านทุกอย่าง 20 บาท ผมเคยสงสัยว่าทำไมสินค้าหลายๆ อย่างในร้านไม่น่าจะขายได้ที่ราคา 20 บาท พอเริ่มหาข้อมูลยิ่งอึ้งไปใหญ่ เมื่อพบว่าสินค้าแทบจะทั้งหมดในร้านทุกอย่าง 20 บาทมาจากประเทศจีนไกลมากกว่า 2 พันกิโลเมตร ทำไมถึงสามารถนำสินค้าเข้ามาขายได้ราคาต่ำอย่างนี้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วราคาขายหน้าร้านในไทย 20 บาท  ซึ่งรวมกำไรแล้ว ดังนั้น ราคาต้นทุนที่นำเข้ามาต้องถูกมากแน่นอน อาจจะไม่เกิน 10 บาทต่อชิ้นด้วยซ้ำไป.
หลังจากที่หาข้อมูลประกอบเพิ่มเติมจึงได้รูจักกับคำว่า โลจิสติกส์ มากยิ่งขึ้น. จริงๆ แล้วตัวสินค้า คุณภาพของสินค้าไม่ได้มีอะไรมาก เป็นสินค้าเกรดต่ำถึงเกรดทั่วไปเท่านั้น แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีคณภาพละคุณค่า คุณภาพและคุณค่าที่แท้จริงของสินค้าอยู่ที่ตรงตามความต้องการ ราคา  เหมาะสม ตรงตามความต้องการและความพอใจของลูกค้าหรือไม่เท่านั้นเอง. นั่นก็หมายความว่าร้านสินค้าทุกอย่าง 20 บาท เป็นการทำตลาดล่างเฉพาะกลุ่มสำหรับผู้มีรายได้น้อยหรือไม่ต้องการสินค้าคุณภาพสูงนั่นเอง.
การนำระบบโลจิสติกส์มาใช้ในการบริหารธุรกิจร้าน เริ่มต้นมาตั้งแต่ผู้ผลิตที่เน้นการผลิตและขายเป็นจำนวนมาก เน้นสินค้าคุณภาพที่ไม่สูง วัตถุดิบเกรดต่ำ แรงงานค่าแรงต่ำซึ่งนั่นคือผลิตในประเทศจีนนั่นเอง ข้อดีของการผลิตในประเทศจีนก็คือ เป็นประเทศใหญ่ เป้นวัตถุดิบในการผลิตเหลือเฟือตั้งแต่คุณภาพเกรดต่ำจนถึงคุณภาพระดับสูง ด้านกระบวนการผลิต เครื่องจักร นั้น ประเทศจีนสามารถผลิตเครื่องจักรได้เอง ทำให้ไม่ต้องมีการนำเข้าเครื่องจักรในต่างประเทศ ส่วนในเรื่องแรงงาน ประเทศจีนมีประขากรมากกว่า 1 พันล้านคน คนจนมีเยอะทำให้ต้องแข่งขัน แย่งงานกัน ทำไม่ค่าแรงในประเทศจีนถูกมาก เมื่อรวมกันทั้ง วัตถุดิบในการผลิต + เทคโนโลยี เครื่องจักรในการผลิต + แรงงาน = สินค้าที่มีราคาถูก.
คำถามต่อมาคือ ถึงแม้สามรรถผลิตสินค้าได้ในราคาถูก มันก็ยังอยู่ในประเทศจีน ยังไม่มาถึงประเทศไทย คิดดูเล่น กว่าจะขนส่งมายังประเทศไทย ซึ่งมีระยะทางมากกว่า 2 พันกิโลเมตร ราคามันก็ถึงเพิ่มขึ้นอีกเป็นเท่าตัวแน่นอน. คำตอบก็คือ นำระบบบริหารงาน โลจิสติกส์ ที่มีประสิทธิภาพมาใช้ในการวางแผน วิเคราะห์ ควบคุม จัดการ เริ่มตั้ง แต่การบริหารความต้องการของลูกค้า บริหารการผลิต บริหารสินค้าคงคลัง บริหารการจัดส่ง บริหารการขาย จนกระทั่งสินค้ามาถึงลูกค้าปลายทางนั่นเอง.
เพื่อให้มองเห็นภาพชัดเจน จะขอนำเสนอตัวอย่างง่ายๆ
สินค้า A ราคาชิ้นละ 5 บาท
ค่าขนส่ง นำเข้าสินค้าจากประเทศจีนมาไทย เที่ยวละ 20,000 บาท โดยสามารถขนสินค้าได้เต็มที่ 20,000 ชิ้นต่อเที่ยว
ถ้าเราสั่งซื้อสินค้าเพื่อนำมาขายจำนวน 10 ชิ้น ต้นทุนสินค้า คือ 5 บาท/ชิ้น x 10 + ค่าขนส่ง 20,000 บาท เฉลี่ยแล้วต้นทุนสินค้าก่อนบวกกำไร จะอยู่ที่ประมาณ 2,005 บาทต่อชิ้น ซึ่งแน่นอนว่าเป็นไปไม่ได้อยู่แล้วที่จะนำมาขายในราคา 20 บาทต่อชิ้น.
และถ้าเราสั่งซื้อสินค้าเพื่อนำมาขายจำนวน 20,000 ชิ้น ต้นทุนสินค้า คือ 5 บาท/ชิ้น x 20,000  + ค่าขนส่ง 20,000 บาท เฉลี่ยแล้วต้นทุนสินค้าก่อนบวกกำไร จะอยู่ที่ประมาณ 6 บาทต่อชิ้น จะเห็นว่าราคาต่ำกว่า 6 บาทด้วยซ้ำ หากไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าเช่าร้าน ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าแรงพนักงานขายส่วนต่างของกำไรก็ที่ที่ 14 บาทต่อชิ้น ถ้าขายหมดก็จะได้กำไรถึง 280,000.
จากตัวอย่าง A แสดงการบริหารโลจิสติกส์แบบง่ายๆ โดยเน้นไปที่การขายจำนวนมาก เพื่อให้มีต้นทุนในด้านการขนส่งต่ำที่สุด แต่ในความเป็นจริงแล้ว ระบบโลจิสติกส์มีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอักมากกมาย ขึ้นอยู่กับแต่ละธุรกิจ ที่จะมีการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ เพื่อหาจุดที่ต้องปรับปรุง ลดต้นทุนอย่างไรบ้าง รวมถึงวิธีการ เครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการบริหารจัดการที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด.

Saturday, January 7, 2017

แนวทางการลดต้นทุนการผลิตด้วยการบริหารระบบ Logistic & Supply Chain

ในธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงในปัจจุบัน การแข่งขันด้านราคาก็มีผลเป็นอย่างมาก ซึ่งจะเห็นได้ว่าสินค้าจากประเทศจีนได้แพร่กระจายทั่วหลายในประเทศไทย โดยมีจุดเด่น คือ ราคาถูก จนบางครั้งเมื่อสินค้านั้นชำรุดเสียหายก็แทบจะไม่ต้องเสียดายกันเลยทีเดียว.
ถ้าดูจากที่ตั้ง ระยะทางจากประเทศจีนมายังประเทศไทยนับว่าไกลมาก จนไม่น่าเชื่อว่าสินค้าจะมีราคาถูกขนาดนี้ ตีสินค้าไทยกระจุยถึงแม้ว่าคุณภาพจะดีบ้าง ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างร้านทุกอย่าง 20 บาท เป็นต้น.
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการสามารถจำหน่ายสินค้าได้ในราคาที่ต่ำ สามารถแข่งขันกับสินค้าภายในประเทศได้ก็คือ การลดต้นทุนการผลิตด้วยการบริหารระบบ โลจิสติกส์ (Logistic) และ ซัพพลายเชน (Supply Chain)
โลจิสติกส์และซัพพลายเชนเป็นระบบที่งานสอดคล้องกัน เกื้อหนุนกัน บางครั้งอาจจะบอกได้ว่าโลจิสติกส์เป็นส่วนหนึ่งของซัพพลายเชน หรือ ซัพพลายเชนเป็นส่วนหนึ่งของโลจิสติกส์ก็ได้ ซึ่งนั่นอาจจะไม่ใช่ประเด็นที่ต้องนำมาถกเถียงกันมากนัก.
ระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชน เป็นระบบที่ค่อนข้างกว้างครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการตลาด การขาย การผลิต ผู้ขาย ผู้รับเหมาช่วง สินค้าคงคลัง บัญชี ฝ่ายบุคคล ฝ่ายการเงิน การส่งมอบ ลูกค้า นั่นก็คือทั้งหมดในระบบของวงจรธุรกิจนั่นเอง.
ระบบโลติสจิกส์และซัพพลายเชนจะเข้ามาช่วยในการลดต้นทุนการผลิตได้อย่างไร?
ตัวอย่างที่ 1
การที่เราสามารถส่งสินค้าได้ครั้งละมากๆ ไปพร้อมกันในคราวเดียวกันช่วยลดต้นทุนการขนส่งต่อหน่วยได้ เช่น

  • ค่าสินค้า 100 บาทต่อหน่วย
  • ค่าขนส่ง 1,000 บาทต่อเที่ยว (ส่งได้สูงสุดเที่ยวละ 100 หน่วย)
  • ดังนั้น ถ้าส่งของแค่หนึ่งชิ้น สินค้าชิ้นนั้นก็จะมีราคาชิ้นละ 1,100 บาท แต่ถ้าส่งสินค้าเต็มที่ 100 ชิ้น สินค้าก็จะมีราคาแค่ 11 บาทต่อชิ้นเท่านั้นเอง. 



Thursday, March 31, 2016

ต้นทุนเพิ่มต่อหน่วย (Marginal Cost)

ต้นทุนเพิ่มต่อหน่วย คือ ต้นทุนเพิ่มต่อหน่วยผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เพิ่มขึ้นต่อหน่วย เช่น อัตราการผลิตที่เป็นอยู่ในขณะนี้เป็น 100 หน่วยต่อวัน ต้นทุน 100 บาท เราต้องการเพิ่มจำนวนการผลิตเป็น 200 หน่วยต่อวัน โดยเพิ่มเงินลงทุนอีกเป็นจำนวนเงิน 100 บาท ต้นทุนเพิ่มต่อหน่วยจะเป็น 1 บาท แต่ถ้าเราเพิ่มอัตราการผลิตเป็น 300 หน่วยต่อวัน ต้นทุนเพิ่มอาจจะมีค่าเพียง 150 บาท ต้นทุนเพิ่มต่อหน่วยมีค่าเพียง 0.75 บาทต่อหน่วย กรณีที่ที่การขยายเพิ่มจากเดิมต้นทุนเพิ่มต่อหน่วยจะมีค่าที่เป็นประโยชน์ต่อการัดสินใจ ส่วนมากมักจะตัดสินใจผิดพลาดเนื่องจากยึดถือต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยแทนที่จะใช้ต้นทุนเพิ่มต่อหน่วย ตัวอย่างข้างต้น ถ้าต้นทุนเป็น 100 บาท เมื่ออัตราการผลิต 100 หน่วยต่อวัน ต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยเท่ากับ 1 บาท เมื่อเพิ่มอัตราการผลิตเป็น 200 หน่วยต่อวันต้นทุนการผลิต 200 บาท ต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยเป็น 1 บาท ต้นทุนเพิ่มต่อหน่วย 1 บาท แต่ถ้าอัตราการผลิตเพิ่มเป็น 300 หน่วยต่อวัน ต้นทุนการผลิต 250 บาท จะได้ต้นทุนต่อหน่วย 0.83 บาท และต้นทุนเพิ่มต่อหน่วย 0.75 บาท ถ้าขายได้ระหว่าง 101 ถึว 200 หน่วย โดยตั้งราคาขายเกินหนึ่งบาทเป็นใช้ได้ แต่ถ้าขายได้มากขึ้นกว่า 200 หน่วย ทุกหน่วยที่เพิ่มขึ้นจะขายได้ในราคามากกกว่า 0.75 บาทก็เพียงพอ แทนที่จะต้องตั้งราคาขายสูงกว่า 0.83 บาทต่อหน่วย ซึ่งอาจจะทำให้ให้ขายลำบากขึ้น อย่างไรก็ตาม ถ้าขายได้ราคาสุงกว่า 0.83 บาทต่อหน่วย ย่อมเป็นการดีกว่า.

Thursday, March 24, 2016

ต้นทุนเพิ่ม (Increment Cost)

ต้นทุนเพิ่ม คือ เงินทุนส่วนที่เพิ่มขึ้นจากการที่ธุรกิจขยายตัวเพิ่มจากระดับหนึ่งไปเป็นอีกระดับหนึ่ง ต้นทุนชนิดนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งในการวิเคราะห์ เปรียบเทียบระดับการลงทุนของโครงการลงทุนใดๆ ที่เพิ่มขึ้น ผลประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นจากเดิมจะต้องคุ้มเกินกว่าจำนวนเงินที่เป็นต้นทุนเพิ่ม.