ต้นทุนการผลิต

ต้นทุนการผลิต

การแข่งขันที่สูงและรุนแรงในสภาพการตลาดในปัจุบัน  ส่งผลให้ทุกองค์กรมีการดำเนินกิจกรรมต่าง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน. ในอุตสาหกรรมการผลิตก็เช่นเดียวกัน คู่แข่งที่นับวันจะมากขึ้นทุกวันต่างงัดกลยุทธฺออกมาต่อสู้กัน ที่เห็นจะมากที่สุดก็คงจะเป็นเรื่องของราคาขายที่ถูกกว่า ซึ่งเป็นการตอบสนองที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าที่ต้องการสินค้าที่มีราคาถูก.
แต่การที่จะมามาซึ่งสินค้าที่มีราคาถูกนั้น องค์ประกอบหลักของทางผู้ผลิต คือ ต้นทุนการผลิต. ที่ต้องทำให้ต่ำที่สุดโดยที่คุณภาพและคุณค่าในการใช้งานยังคงอยู่ภายใต้การยอมรับของลูกค้า

1.ความหมายของต้นทุนการผลิต

ต้นทุน(cost) หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ
ต้นทุนการผลิต(production cost) หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมทางการผลิตเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ดี มีคุณภาพ ตามความต้องการของลูกค้า

2.องค์ประกอบของต้นทุนการผลิต

ต้นทุนการผลิต ประกอบด้วย

2.1 ต้นทุนด้านวัสดุ (material cost) 

 เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับวัสดุ, อุปกรณ์, เครื่องมือ ที่ใช้ในการผลิตทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนี้
2.1.1 วัสดุทางตรง (direct material cost) คือ วัสดุหรือวัตถุดิบที่ใช้เพื่อการผลิตโดยตรง โดยส่วนมากมักจะเป็นส่วนประกอบหนึ่งของผลิตภัณฑ์ เช่น ยางรถยนต์มียางเป็นวัตถุดิบทางตรง, ปากกา มี พลาสติกและหมึกเป็นวัตถุดิบทางตรง เป็นต้น จำนวนในการใช้งานวัสดุ/วัตถุดิบทางตรงนี้จะแปรผันกับหน่วยในการผลิตโดยตรง.
2.1.2 วัสดุทางอ้อม (indirect material cost) เช่น วัสดุ, เครื่องมือ, อุปกรณ์ ที่ใช้สนับสนุนในการผลิตโดยส่วนมากจะไม่แปรผันกับปริมาณการผลิตโดยตรง เช่น กระดาษทราย, ผ้าเช็ดมือ, กาว, ตะปู เป็นต้น.
ในบางครั้งวัสดุทางอ้อมก็อาจถูกจัดให้อยู่ในหมวดหมู่ของวัสดุทางตรงก็เป็นได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายทางการบัญชีของแต่ละองค์กร เช่น มีดกลึงสำหรับเครื่องจักรซีเอ็นซี ซึ่งเป็นวัถุดิบทางอ้อม สามารถถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มของวัตถุดิบทางตรงก็ได้ อาจเนื่องจากเหตุผลด้านราคาที่สูงและสามารถคำนวณอายุการใช้งานต่อจำนวนชิ้นงานที่ทำการผลิตได้ (tool life) ถึงแม้ว่ามีดกลึงจะไม่ได้ถูกประกอบไปกับชิ้นงานก็ตาม.

2.2 ต้นทุนด้านแรงงาน (labor cost)

เป็นค่าใช้จ่ายด้านแรงงานในการทำงานและผลิตสินสินค้าเพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป สามารถแบ่งออกได้คล้ายๆ กับต้นทุนวัตถุ คือค่าใช้จ่ายด้านแรงงานทางตรง และค่าจ่ายด้านแรงงานทางอ้อม ดังนี้
2.2.1 ค่าใช้จ่ายด้านแรงงานทางตรง (direct labor cost) เช่น ค่าจ้ารายวัน/เงินเดือนของพนักงานฝ่ายผลิต,ซึ่งจะแปรผันกับปริมาณการผลิตโดยตรง.
2.2.2 ค่าใช้จ่ายด้านแรงงานทางอ้อม (indirect labor cost) เช่น เงินเดือนของพนักงานขาย, เงินเดือนของผู้จัดการ, เงินดือนของวิศวกร ค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะไม่แปรผันกับปริมาณในการผลิตโดยตรง

2.3ค่าใช้จ่ายโรงงานหรือค่าโสหุ้ยในการผลิต (overhead cost) 

เป็นค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือจากจากค่าใช้จ่ายของวัสดุและค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน เช่น ค่าสาธารณูปโภค, ค่าเช่าโรงงาน, ค่าบำรุงรักษาเครื่องจักร, สวัสดิการต่างๆ  เป็นต้น

3. การคำนวณต้นทุนการผลิต

ต้นทุนการผลิต สามารถคำนวณได้ดังนี้

ต้นทุนการผลิต ต้นทุนวัสดุ + ต้นทุนแรงงาน + ค่าโสหุ้ย

4. การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต

การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เป็นการรวบรวม, แจกแจง, วิเคราะห์และรายงานค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในส่วนของต้นทุนต่างๆ ของการผลิตเพื่อประโยช์ต่อการบริหารงานและการดำเนินนโยบายของฝ่ายบริหาร.

วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตมีดังนี้

  • เพื่อกำหนดหาต้นทุนการผลิตที่ใกล้เคียงที่สุด : โดยปกติแล้วต้นทุนการผลิตที่ได้จากการคำนวณจะมีการคลาดเคลื่อนเนื่องจากหลายๆ ปัจจัยในการผลิต เช่น งานเสียต้องผลิตซ้ำทำให้ต้นทุนต่อหน่วยเพิ่มเป็นสองเท่า, กระบวนการผลิตที่ขาดประสิทธิภาพให้กระบวนการผลิตล่าช้า ส่งผลให้สิ้นเปลืองทรัพยากรนโรงงานเพิ่มขึ้น ต้นทุนแรงงานเพิ่มขึ้น. การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตจะทำให้ทราบถึงจุดที่มีต้นทุนการผลิตที่สูง-ต่ำ รวมถึงสาเหตุและทีมาที่ทำให้ต้นทุนการผลิตที่สูงได้
  • การควบคุมและลดต้นทุนการผลิต : เมื่อทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดต้นทุนการผลิตที่สูงทำให้เราสามารถหามาตรฐานแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้ต้นทุนการผลิตลดลงได้.
  • เพื่อตัดสินใจและวางแผนงานต่างๆ : เช่น เมื่อทราบปัญหาที่ทำให้เกิดต้นทุนการผลิตที่สูง และหลังจากที่ได้มีการกำหนดมาตรฐานในการลดต้นทุนการผลิต ทำให้สามารถประมาณการต้นทุนการผลิตและราคาขายที่ต่ำลงมาได้ ทำให้สามารถเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในด้านราคาได้
  • เพื่อกำหนดกำไรและฐานะทางการเงินของกิจการ : การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตจะทำให้สามารถประมาณการต้นทุนการผลิตที่แม่นยำ ซึ่งจะทำให้ผู้บริหารสามารถประมาณการผลประกอบการและกำไรของกิจการได้
  • เพื่อเป็นข้อมูลในการประเมินผลและควบคุมการบริหารงาน : สามารถนำผลการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตมาประเมินผลงานทั้งประสิทธิภาพส่วนของบุคลากรที่ดำเนินงานและผังการบริหารองค์(organization) เพื่อการปรับปรุงและปรับเปลี่ยนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

5. วิธีการลดต้นทุนการผลิต

วิธีการและแนวทางในการลดต้นทุนการผลิตที่นิยมใช้กันมากและแพร่หลาย คือ การลดความสูญเสีย 7 ประการ คือ

1) ความสูญเสียจากการผลิตมากเกินความจำเป็น (over production)

การผลิตที่มากเกินความจำเป็นหรือความต้องการของกค้า ถ้าพูดตามภาษาชาวบ้านก็คือ ผลิตแล้วยังขายไม่ได้นั่นเอง. ส่วนที่ผลิตเกินจากความต้องการ ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทั้งด้านค่าจ่ายในการจัดเก็บและควบคุมวัตถุดิบ/ผลิตภัณฑ์ระหว่างกระบวนการ WIP/ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป , ต้นทุนแรงงานโดยเฉพาะการทำงานล่วงเวลา.

สาเหตุที่ทำให้มีการผลิตมากเกินความจำเป็น
  • ประมาณการความต้องการผลิตภัณฑ์ของลูกค่าคลาดเคลื่อนของฝ่ายขาย
  • การวางแผนการผลิตที่ขาดประสิทธิภาพ
  • มีปัจจัยใหม่ที่ไม่คาดคิดมาส่งผลกระทบต่อปริมาณความต้องการของลูกค้า

แนวทางในการลดต้นทุนที่เกิดจากการผลิตมากเกินความจำเป็น
  • ฝ่ายขายต้องคอยอัพเดตและวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อปริมาณการสั่งซื้อของลูกค้าอยู่เสมอเพื่อเพิ่มความแม่นยำของประมาณการขาย
  • ฝ่ายวางแผนการผลิตต้องมีการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับฝ่ายขายเพื่อนำข้อมูลที่มีการอัพเดตความต้องการของลูกค้ามาใช้ในการวางแผนการผลิต

2) ความสูญเสียจาการรอคอย(Waiting)

การรอคอยเป็นกระบวนการที่ไม่ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์และมูลค่า เช่น วัตถุดิบขาดสต๊อกทำให้กระบวนการผลิตเกิดการรอคอย เสียโอกาส เสียทั้งค่าแรงของพนักงาน. กระบวนการผลิตที่ไม่ต่อเนื่อทำให้เกิดการรอคอยในการผลิต เช่นเดียวกัน

สาเหตุที่ทำให้เกิดการรอคอย
  • วัตถุดิบไม่เพียงพอให้ให้รอการผลิต
  • เครื่องจักรเสียให้ต้องหยุดการผลิต
  • กระบวนการผลิตไม่สมดุล
  • เกิดอุบัติเหตุในการผลิต

แนวทางในการลดต้นทุนที่เกิดจากการรอคอย
  • มีการทบทวน safety stock-MOQ(minimum order quantity) และปรับปรุงให้เหมาะสม ช่วยลดการขาดสต๊อกของวัตถุดิบ
  • จัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักร (preventive maintenance)  เพื่อลดการหยุดการผลิตที่เกิดจากเครื่องจักรเสีย(machine break down)
  • มีการวิเคราะห์กระบวนการ จัดทำเวลามาตรฐาน(standard time) ให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อช่วยในการวางแผนการผลิตให้เกิดความสมดุลในแต่ละกระบวนการมากที่สุด
  • จัดหาอุปกรณ์ป้องกันภัยทั้งในเครื่องจักรและอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล, มีแผนและดำเนินการอบรมด้านความปลอดภัยให้กับพนักงาน, มีป้ายเตือนต่างๆ เพื่อลดอุบัติเหตุที่เกิดจากการทำงาน

3) ความสูญเสียจากการขนส่ง(Transportation) 

การวางผังโรงงาน(plant layout) และลำดับของกระบวนการ(process priority) มีผลโดยตรงต่อการขนส่งระหว่างกระบวนการเป็นการอย่างมาก การขนส่งที่มีระยะทางมากและซ้ำซ้อนส่งผลให้เกิดต้นทุนเพิ่มขึ้นเช่น ค่าแรงของพนักงานขับรถโฟลค์ลิฟท์, ค่านำมัน, ค่าเสียกาส เป็นต้น
สาเหตุของความสูญเสียจากการขนส่ง
  • วางผังโรงงานที่ขาดประสิทธิภาพ
  • วางแผนกระบวนการที่ขาดประสิทธิภาพ

การลดต้นทุนการผลิตที่เกิดจากการขนส่ง
  • ทำการปรับผังกระบวนการผลิตและผังโรงงานโดยคำนึงถึงความต่อเนื่อง, ความสมดุลของกระบวนการ, การเคลื่อนไหว เป็นหลัก ซึ่งโดยส่วนมากจะมีข้อจำกัดค่อนข้างมากโดยเฉพาะโรงงานที่มีเครื่องจักรขนาดใหญ่ ซึ่งการเคลื่อน้ายทำได้ยากและเกิดต้นทุนสูง. *การปรับปรุงผังกระบวนการและผังโรงงานควรมีการประชุมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและพิจารณาอย่างรอบคอบเนื่องจากต้นทุนในการปรับเปลี่ยนอาจสูงกว่าต้นทุนการผลิตที่ลดลง

4) ความสูญเสียจากการเก็บวัสดุคงคลังมากเกินไป(Excess Inventory) 

การเก็บวัสดุคงคลังมากเกินไป ทำให้เกิดค่าเสียโอกาสในการขาย, ค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บละควบคุมวัสดุคงคลังทั้งวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป

สาเหตุของของสูญเสียจากการเก็บวัสดุคงคลังมากเกิน
  • เป็นผลมากจากการผลิตที่มากเกิน
  • จำนวนจัดเก็บเพื่อความปลอดภัย(minimum stock/safety stock) และ ปริมาณการสั่งซื้อขั้นต่ำ(minimum order quantity:MOQ) ไม่เหมาะสม
  • การวางแผนการผลิตที่คลาดเคลื่อน

การลดต้นทุนที่เกิดจากการจัดเก็บวัสดุคงคลังมากเกินไป
  • ทบทวน Minimum Stock และ Safety Stock
  • ทบทวนแผนการผลิต

5) ความสูญเสียที่เกิดจากงานเสีย(Defect)

การผลิตงานเสียก่อให้เกิดการสูญเสียคือ ค่าใช้จ่ายในการผลิตภัณฑ์ซ้ำหรือแก้ไข ซึ่งรวมถึง วัตถุดิบ, ค่าแรง, ค่าสาธารณูปโภค และอื่นๆ เพิ่มขึ้นมาโดยที่ได้ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเท่าเดิม

สาเหตุของความสูญเสียจากงานเสีย
  • พนักงานขาดทักษะ
  • ประมาท เลินเล่อ
  • วิธีการทำงานไม่เหมาะสม
  • วัตถุดิบไม่มีคุณภาพ
  • เครื่องจักรประสิทธิภาพต่ำ
  • เร่งรีบจนเกินไป
การลดต้นทุนที่เกิดจากงานเสีย
โดยปกติแล้วงานเสียที่เกิดในกระบวนการผลิตทางหน่วยงานด้านคุณภาพจะเข้ามาวิเคราะห์ร่วมกันกับฝ่ายผลิตเพื่อสาเหตุของงานเสียหรืองานที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด โดยหามาตรฐานในการแก้ไขและป้องกันอยู่แล้ว

6) ความสูญเสียที่เกิดจาการเคลื่อนไหวมากเกินไป(Excess Motion) 

การเคลื่อนไหวที่เกิดเกินความจำเป็นส่งผลให้ระยะเวลาในการทำงานนานขึ้น ค่าใช้จ่าย อื่นๆ ก็จะตามมาเช่น ค่าแรงงาน, ค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น

สาเหตุของการสูญเสียที่เกิดจากการเคลื่อนไหวมากเกินไป
  • วิธีการทำงานที่ขาดประสิทธิภาพ
  • ทักษะของพนักงานไม่เพียงพอ
  • ผังของกระบวนการไม่เหมาะสม

การลดต้นทุนการผลิตที่เกิดจากเคลื่อนไหวมากเกินไป
  • ใช้หลักการของ work study เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ แก้ไข และปรับปรุง
  • ฝึกอบรมด้านทักษษะให้กับพนักงาน
  • จัดทำวิธีการทำงานที่เป็นมาตหรฐาน

7) ความสูญเสียของกระบวนการที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่าหรือผลิตภัณฑ์ (Non-Value Added Processing)

คือ กระบวนการส่วนเกิน ไม่มีกระบวนการนี้ก็สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ได้

สาเหตุของความสูญเสียที่เกิดจากกระบวนการที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่า
  • ขาดความรู้ความเข้าใจในกระบวนอย่างแท้จริง
  • ยึดติดกับวิธีการเก่าที่ทำต่อเนื่องกันมา เลยทำให้อยากที่จะเปลี่ยนแปลง
  • ขาดการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ

การลดต้นทุนการผลิตที่เกิดจากกระบวนการที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่า
  • มีการวิเคราะห์และศึกษากระบวนการอย่างเป็นระบบ
  • ใช้หลักการของวิศวกรรมคุณค่า (Value Engineering) เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์
  • ยอมรับแนวคิดใหม่ โดยอาจให้เหตุผลกับพนักงานว่า วิธีการเก่าไม่ใช่วิธีการที่ผิด และวิธีการใหม่ๆ เป็นการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการ ช่วยให้ทพงานง่ายขึ้น

3 comments:

  1. บทความมีประโยช์มากเลยค่ะ ขอนำไปประกอบรายงานนะค่ะ และขอสอบถามชื่อแอดมินได้ไหมค่ะจะได้เป็นการให้เกียรติแอดมินด้วยอ่าค่ะ ^^ขอบคุณค่า

    ReplyDelete
  2. วัตถุประสงค์ของการดำเนินธุรกิจ คือ การแสวงหาผลกำไร อันเกิดจากการดำเนินธุรกิจนั้น แต่ในบางครั้งการดำเนินธุรกิจยังมีวัตถุประสงค์อื่นที่ดีกว่า นอกเหนือจากการหาผลกำไรเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้นักวิชาการสมัยก่อนและในปัจจุบันเองก็ยังหาคำตอบที่แท้จริงได้

    ReplyDelete
  3. สติ๊กเกอร์ไลน์ ชิ้นส่วนมาตรฐาน

    สกรูและสลักเกลียวในงานวิศวกรรม
    https://store.line.me/stickershop/product/16456268

    แหวนล๊อคในงานวิศวกรรม
    https://store.line.me/stickershop/product/16425794

    แหวนรองในงานวิศวกรรม
    https://store.line.me/stickershop/product/16425165

    น๊อตในงานวิศวกรรม
    https://store.line.me/stickershop/product/16400172



    ReplyDelete