Wednesday, September 24, 2014

วิศวกรรมคุณค่า (Value Engineering)


วิศวกรรมคุณค่ากับการลดต้นทุนการผลิต

วิศวกรรมคุณค่า หรือ VE  (Value Engineering) คือ การนำหลักทางทางวิศวกรรมเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์กระบวนการต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายหลักคือ “การลดต้นทุนการผลิต

การกำเนิดแนวคิดวิศวกรรมคุณค่า

    วิศกรรมคุณค่าเกิดขึ้นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ.1938-1945). สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบ โดยเฉพาะจำพวกโลหะ เหล็กทุกชนิด.
    เช่นเดียวกัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ก็ได้รับผลกระทบนี้มากแต่ในขณะเดียวกันก็มีความต้องการใช้วัสดุจำพวกนี้ในกิจการทางการทหาร หนึ่งในนั้นก็คือ การผลิตเครื่อง Turbo Supercharger ให้ได้จำนวน 1000 เครื่องภายในระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์เพื่อใช้สำหรับเครื่องบิน B-24 และ B-29. และในครั้งนี้เองนาย Lawrence Miles ซึ่งเป็นวิศวกรจัดซื้อของบริษัท General Electric Company ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับคำสั่งให้หาวัตถุดิบและผลิตชิ้นส่วนเหล่านี้ ลองนึกภาพตามนะครับว่ามันจะสำคัญแค่ไหน ในขณะที่กำลังเกิดสงครามอยู่แต่วัตถุดิบในการผลิตยุทโธปกรณ์ทางการทหารขาดแคลน ภาระกิจที่หนักหนาสาหัสมากสำหรับในสถานการณ์เช่นนี้. แต่แล้ว นาย Lawrence Miles เค้าก็สามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส เค้าพยายามแล้ว พยามอีก จนกระทั่งเกิดแนวคิดที่ว่า “ในเมื่อหาและผลิตมันไม่ได้ ทำไมไม่ลดหน้าที่การทำงาน (Function) ลงล่ะ” ซึ่งก็หมายถึง การตัดสิ่งที่ไม่จำเป็น หรือเปลี่ยนไปใช้วัสดุอย่างอื่นแทนที่สามารถทำงานได้เหมือนกันโดยที่คุณภาพไม่ลดลง แต่ต้นทุนต่ำลง. จึงเป็นที่มาของเทคนิค วิศกรรมคุณค่า หรือ Value Engineering (VE) และมีการพัฒนาต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

ทำวิศวกรรมคุณค่าไปทำไม?



วิศวกรรมคุณค่ามีเหตุผลหลัก คือ “การลดต้นทุนการผลิต” โดย
    - กำจัดส่วนเกิน ต้นทุนวัสดุลดลง ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงไปด้วย
    - เปลี่ยนไปใช้อย่างอื่นที่ใช้แทนกันได้ ซึ่งมีต้นทุนที่ต่ำกว่า คำว่าแทนกันได้หมายถึง ทำหน้าที่ได้เหมือนกัน คุณภาพไม่ลดลง
    - ลดกระบวนการให้สั้นลง ผลิตงานได้เร็วขึ้น ทำให้ต้นทุนกระบวนการลดลง

วิศวกรรมคุณค่าไม่เพียงแต่สามารถลดต้นทุนการผลิตและส่งผลดีต่อหน่วยงานที่เกี่ยวกับการผลิตเท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทุกสาขา เนื่องจากวิศวกรรมคุณค่าเป็นกระบวนการทางความคิด กระบวนการทางการวิเคราะห์ กระบวนการหาเหตุผล จึงสามารถให้คุณค่า (Value) หลายๆ ด้านขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน



ตัวอย่างแนวคิดในการประยุกต์ใช้ วิศวกรรมคุณค่า กับการทำงานในสาขาต่างๆ


1.ฝ่ายขาย : สามารถลดต้นทุนการเดินทางไปลูกค้า เช่น ค่าน้ำมัน, ค่าทางด่วน ได้โดย การวางแผนงานเดินทาง โดยอาจแบ่งกลุ่มของลูกค้าตามวัตถุประสงค์และความสำคัญ เช่น การแบ่งกลุมของลูกค้าที่มีเปอร์เซ็นต์ในการขายรวมกันแล้ว 50% และแบ่งเป็นกลุ่มย่อยที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน แนวคิดนี้คือ การจัดกลุ่มของลูกค้าที่มียอดขายสูงให้มีความสำคัญเป็นอันดับแรก ในเมื่อค่าน้ำมันต่อหนึ่งกิโลเมตรเท่ากัน แล้วทำไม่เลือกที่ที่มันให้ผลตอบแทนสูงกว่าล่ะ ส่วนลูกค้าที่มียอดขายต่ำกรณีอาจจะติดต่อด้วยวิธีอื่นที่มีต้นทุนต่ำกว่าก่อน เช่น โทรศัพท์, ส่งอีเมล เป็นต้น


2.ฝ่ายออกแบบ : ฝ่ายออก แบบเป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่สามารถนำแนวคิดของวิศวกรรมคุณค่ามาใช้ในการลด ต้นทุนการผลิตได้อย่างหลากหลายเห็นเห็นภาพชัดเจนมากที่สุด แต่ก็ไม่ง่ายเลยที่เดียวนะครับสำหรับกระบวนการออกแบบ โดยเฉพาะชิ้นส่วนที่มีกระบวนการซับซ้อน การเปลี่ยนแปลงทุกอย่างต้องมีเหตุผลทางด้านวิศวกรรมประกอบ รวมทั้งต้องมีการทดลอง ทดสอบ เพื่อยอมรับผลการเปลี่ยนแปลงนั้น.
    นอกจากปรับเปลี่ยนภายหน่วยงานหรือองค์กรณ์แล้ว บางครั้งการเปลี่ยนแปลงด้านการออกแบบก็ยังเกี่ยวข้องกับข้อกำหนดของลูกค้าด้วย ซึ่งการขออนุมัติการเปลี่ยนแปลงกับลูกค้านั้นค่อนข้างยาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้เลยทีเดียว อาจะมีการนำเสนอในแนวทางที่ว่า การเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ได้ทำให้คุณสมบัติในการทำงานของลูกค้าลดลง(มีผลการทดลองประกอบ)

3.ฝ่ายวางแผนการผลิต : การวางแผนการผลิตที่ดีจะต้อง การหาระยะทางในการผลิตที่สั้นที่สุด ไม่มีการหยุดชะงักระหว่างการผลิต การนำเทคนิควิศวกรรมคุณค่ามาใช้ในการวางแผนการผลิต เช่น การตัดกระบวนการที่ไม่จำเป็นออก, การทำสต๊อกสำหรับบางกระบวนการ, เป็นต้น

4.ฝ่ายผลิต : เทคนิควิศวกรรมการผลิตช่วยให้สามารถแยกแยะสิ่งที่จำเป็นและไม่จำเป็นในกระบวนการผลิตได้ดี เช่น กระบวนการสนับสนุนการผลิตบางอย่างไม่ได้ก่อให้เกิดผลผลิตโดยตรงอาจจะสามารถตัดออกได้ เป็นต้น

5.ฝ่ายคลังสินค้า : วิเคราะห์หาปริมาณการจัดเก็บและการสั่งซื้อที่ต่ำที่สุด ภายใต้เงื่อนไขว่าวัตถุดิบต้องมีเพียงพอต่อการผลิต, การวาง layout การจัดเก็บให้หาสินค้าได้ง่าย เพื่อความสะดวกในการควบคุมและการเบิกจ่าย เป็นต้น
 

1 comment: