1.ค่าใช้จ่ายด้านวัสดุ (Material Cost)
2.ค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน (Labor Cost)
3.ค่าโสหุ้ย (Overhead)
วัตถุดิบ (material) เป็นวัสดุหลักที่นำถูกนำมาใช้ในการผลิตโดยตรง ส่วนมากจะประกอบอยู่ในตัวผลิตภัณฑ์ ดังนั้นต้นทุนการผลิตจึงประกอบด้วยวัตถุดิบที่ใช้ เช่น โรงงานผลิตขวดพลาสติก วัสดุดิบหลักที่ใช้ก็คือพลาสติก, โรงงานผลิตยางรถยนต์ วัตถุดิบที่ใช้คือยางพารา, โรงงานผลิตเสาคอนกรีตสำเร็จรูป วัตถุดิบหลักคือ ปูนซิเมนต์และเหล็ก เป็นต้น. วัตถุดิบที่ยกตัวอย่างมาเป็นวัตถุดิบหลักหรือที่เราเรียกว่า “วัตถุดิบทางตรง” เป็นวัสดุที่แปรผันกับการผลิตโดยตรงตามอัตราส่วนในสูตรการผลิต สามารถคำนวณได้ตามชิ้นงานที่ผลิต ซึ่งนับว่าเป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญ อัตราส่วนของต้นทุนการผลิตต่อราคาขายนั้นจะขึ้นอยู่กับกิจการและลักษณะของผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท ตามประสบการณ์ที่ผมเจอมา ในอุตสาหกรรมประเภทการผลิตเครื่องมือ, การแปรรูปชิ้นส่วน (machining) ต้นทุนการผลิตของวัตถุดิบหลักอยู่ที่ประมาณ 30 – 50%
นอกจากนี้วัตถุดิบยังประกอบด้วย “วัตถุดิบทางอ้อม” หรือพวกค่าใช้จ่ายด้านวัสดุอื่นๆ ที่ไม่ได้แปรผันกับการผลิตโดยตรง เช่น ถุงมือ, ผ้าเช็ดมือ, กาว, ตะปู,ลวดเชื่อม โดยต้นทุนการผลิตส่วนนี้จะถูกนำไปจัดไว้ในค่าโสหุ้ย
ค่าแรงงาน (labor cost) เป็นต้นทุนการผลิตที่ใช้ในการจ้างแรงงานเพื่อมาทำการผลิตสินค้าหรือแปรสภาพวัตถุดิบให้เป็นสินค้า ประกอบด้วยแรงงานทางตรง (direct labor) และแรงงานทางอ้อม (indirect labor). แรงงานทางตรงนั้นจะอยู่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตโดยตรง เช่น พนักงานควบคุมเครื่อง CNC, พนักงานประกอบผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ต้นทุนการผลิตของแรงงานทางตรงนั้นจะแปรผันกับจำนวนที่ผลิตโดยตรง ส่วนมากจะวัดผลในรูปแบบของประสิทธิภาพการผลิต (productivity) เช่น
ค่าแรงของพนักงานประกอบชิ้นงาน 300 บาทต่อวัน
สามารถผลิตชิ้นงานได้ 150 ชิ้นต่อวัน
ดังนั้นประสิทธิภาพการผลิตของพนักงานเมื่อเทียบกับค่าแรงจะอยู่ที่ 50%
ประสิทธิภาพ 50% นี้ไม่ได้บ่งบอกว่าพนักงานทำงานไม่มีประสิทธิภาพเสมอไป เนื่องจากว่าเป็นการเทียบกับหน่วยของค่าแรงงานในการผลิตต่อในหนึ่งวัน ถ้ามองในทางกลับกันต้นทุนการลิตในส่วนของแรงงานทางตรงคือ 300 บาท/150 ชิ้น = 2 บาท/ชิ้น ส่วน 50% นั้นจะถูกนำไปใช้เป็นเกณฑ์อ้างอิงในการปรับปรุงประสิทธิภาพต่อไป.
ค่าแรงงานอีกอย่างหนึ่งคือ ค่าแรงงานทางอ้อม เช่น เงินเดือนพนักงานทำความสะอาด, พนักงานดูแลคลังสินค้า, เงินเดือนพนักงานออฟฟิต, เงินเดือนวิศวกร ซึ่งต้นทุนพวกนี้จะไม่ได้แปรผันกับการผลิตโดยตรง แต่ถ้ากรณีของการทำงานล่วงเวลา ก็ต้องพิจารณาด้วยว่างานที่ต้องทำในช่วงเวลานั้นเป็นการทำเพื่ออะไร ลักษณะไหน เช่น พนักงานดูแลคลังสินค้า ทำงานล่วงเวลาเพื่อคอยควบคุมเบิกจ่าสินค้าเหมือนช่วงเวลาปกติก็เป็นค่าใช้จ่ายแรงงานทางอ้อม แต่ถ้าเป็นการทำงานล่วงเวลาทำการผลิตตามใบสั่งก็จะกลายเป็นต้นทุนการผลิตทางตรงทันที
ค่าใช้จ่ายโรงงาน หรือค่าโสหุ้ยการผลิต (Overhead) เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากค่าแรงงานทางตรงและค่าวัสถุทางตรง จะประกอบด้วยค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้
• ค่าวัสดุทางตรง
• ค่าวัสดุทางอ้อม
• ค่าสาธารณูปโภค
• ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด
• ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรและสินทรัพย์อื่นๆ
• ค่าซ่อมแซมเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิต
• ค่าเช่า
• ค่าประกันภัยสินทรัพย์
• ค่าภาษี (ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล)
• ค่าสวัสดิการ
ค่าใช้จ่ายโรงงานจะอยู่ในรูปของค่าใช้จ่ายที่คงที่หรือไม่คงที่ก็ได้ แต่จะไม่แปรผันโดยตรงกับปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง ค่าใช้จ่ายโรงงานจึงเป็นส่วนของค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนการผลิตซึ่งสามารถพิจารณาลดได้ก่อน เพราะหลายๆ ส่วนของต้นทุนการผลิตที่ลดไปอาจไม่กระทบต่อผลผลิตเลย.
ค่าใช้จ่ายโรงงานหรือค่าโสหุ้ยการผลิต เมื่อรวมกับต้นทุนแรงงานจะเรียกว่า “ต้นทุนแปรสภาพ (conversion cost)” ซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตที่ใช้กำหนค่าจ้างทำสำหรับงานสั่งทำที่มีการนำวัสดุมาให้แปรรูป.
No comments:
Post a Comment