ปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนวัสดุประกอบด้วย
1.การออกแบบ : การออกแบบมีผลต่อต้นทุนวัสดุโดยตรง โดยทั่วไปการออกแบบจะเป็นการนำเอาความต้องการของลูกค้ามาทำการออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ ขึ้นอยู่กับนโยบายว่าต้องการไปในแนวทางไหน เช่น ต้องการผลิตรถยนต์ให้มีน้ำหนักเบา ก็ต้องเลือกใช้วัสดุชนิดที่มีคุณสมบัติเบาแต่ก็ยังต้องคงทนไว้ซึ่งความแข็งแรงและทนทาน, ต้องการออกแบบรถจักรยานยนต์ที่มีราคาถูกที่สุดในตลาดของรถจักรยานยนต์รุ่นเดียวกัน อาจจะต้องยอมลดความระดับของวัสดุดิบลงมาเพื่อให้มีต้นทุนวัสดุที่ต่ำลง เป็นต้น
2.กระบวนการผลิต : การออกแบบกระบวนการผลิตมีผลต่อต้นทุนวัสดุคือ กระบวนการผลิตที่ซับซ้อนและทำงานยากนั้นโอกาสที่จะทำให้เกิดงานเสียในกระบวนการผลิตก็สูงขึ้นเช่นเดียวกัน ผมที่ตามมาก็คือ ต้นทุนวัสดุและต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น
3.ความสูญเสียในการผลิต เช่น งานเสีย สมมติว่าเรามีต้นทุนวัสดุ 30% เมื่อมีงานเสียเกิดขึ้น 1 ชิ้น นั่นก็หมายความว่าเราต้องผลิตใหม่เพิ่มอีก 1 ชิ้น ใช้วัตถุดิบเพิ่มขึ้น 1 ชิ้นโดยที่เรายังขายได้ราคาแค่ 1 ชิ้น ไม่ใช่หรือชิ้น หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ต้นทุนวัสดุ = 60%
วัสดุการผลิตสามารถแบ่งออกได้โดยทั่วไป 4 ประเภท คือ
1.วัตถุดิบหรือ วัสดุการผลิต (raw material) เป็นวัสดุหลักที่ประกอบอยู่ในตัวผลิตภัณฑ์ ควรมีการควบคุมไม่ให้มีการขาด stock เนื่องจากมีผลกับการผลิตโดยตรง ในทางตรงกันข้ามก็ไม่ควรมีไว้มากเกินไป เนื่องจากว่ามีอัตราของต้นทุนสูงเมื่อเทียบกับวัสดุชนิดอื่นๆ การคำนวณต้นทุนการผลิต จะคำนวณเป็นหน่วยต่อผลิตภัณฑ์.
2.วัสดุสนับสนุนหรือประกอบการผลิต หรือ sub material เช่น ลวดเชื่อม, ดอกสว่าน, มีดกลึง เป็นต้น วัสดุประเภทนี้ อาจเป็นประเภทที่ช่วยในการขึ้นรูชิ้นงาน ตัดแต่งชิ้นงาน โดยส่วนมากจะไม่ติดไปกับผลิตภัณฑ์ การคำนวณต้นทุนการผลิต อาจคำนวณต่อหน่วยชิ้นงานก็ได้ หรือคำนวณแบบถัวเถลี่ยก็ได้ ตามความเหมาะสม
3.วัสดุส่งเสริมการผลิต เช่น อุปกรณ์ต่างๆ ในการ เช่น ส่งเสริมการผลิต เช่น พวกเครื่องมือต่างๆ, jig & fixture เพื่อช่วยให้การผลิตทำงานได้ง่ายขึ้น การคำนวณส่วนมากจะจัดให้เป็นค่าใช้จ่ายด้านอุปกรณ์แยกออกมาต่างหากจากต้นทุนวัสดุ
4.วัสดุสิ้นเปลืองหรือวัสดุใช้สอย วัสดุประเภทนี้ไม่ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ เช่น ถุงมือ, ผ้าเช็ดมือ, กระดาษชำระ เป็นต้น
No comments:
Post a Comment