Wednesday, November 13, 2013

การวัดต้นทุนการผลิต

ต้นทุนการผลิตจะถูกกำหนดด้วยค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ใช้ไปในการผลิตแต่ละกระบวนการ, การจัดหาวัตถุดิบ ชิ้นส่วน สินค้าและบริการให้กับผู้บริโภค. ในระยะสั้น(มีปัจจัยคงที่และปัจจัยผันแปรของการผลิต) การจะอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปรดังนี้

ค่าใช้จ่ายระยะสั้นของการผลิต


ต้นทุนรวม (TC) = ต้นทุนคงที่(TFC) + ต้นทุนผันแปร(TVC)

ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost)

ต้นทุนคงที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่คงที่ของการผลิตและจะไม่ผันแปรกับปริมาณการผลิตโดยตรง(กล่าวคือ มันจะเกิดจากปัจจัยภายนอกของระดับของการผลิตนระยะเวลาสั้น)

ตัวอย่าง
การเช่าอาคาร, การเช่าซื้ออุปกรณ์ เครื่องมือ, การจ่ายภาษีค่าธรรมเนียมประจำปีให้กับองค์กรท้องถิ่น, การจ่ายเงินเดือนให้กับพนักงานที่จ้างแบบธรรมงานเต็มเวลาหรือพนักงานประจำ, ดอกเบี้ยการกู้ยืม, ค่าเสื่อมราคา(เนื่องจากอายุ) และค่าประกันภัยของธุรกิจ เป็นต้น.

ต้นทุนคงที่รวม(TFC) จะยังคงคงที่ถึงแม้ว่าปริมาณ Output จะเพิ่มขึ้น. ต้นทุนคงที่เฉลี่ย(AFC) = ต้นทุนคงที่รวม(TFC) / Output(Q) .
ต้นทุนคงที่เฉลี่ยจะลดลงอย่างต่อเนื่องไปพร้อมกับ Output เนื่องจากต้นทุนคงที่มีการกระจายในระดับที่สูงกว่าระดับของการผลิต ซึ่งจะเป็นผลให้ต้นทุนคงที่รวมต่ำลงไปด้วย

ตัวอย่างของต้นทุนคงที่
การเช่าสิ่งก่อสร้าง, การเช่าโรงงานเครื่องจักรและอุปกรณ์,ภาษีสำหรับองค์กรท้องถิ่น, เงินเดือนของพนักงานประจำ, ดอกเบี้ยของการกู้ยืม, ค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์(ขึ้นอยู่กับอายุการใช้งาน) และค่าประกัน


ต้นทุนคงที่เฉลี่ย(AFC) = ต้นทุนคงที่รวม(TFC) / ผลผลิต(Q)

การเพิ่มขึ้นของต้นทุนคงที่ไม่มีผลกระทบต่อตัวแปรของการผลิตทั้งหมด. ความหมายของมันก็มีแค่เพียงการเคลื่อนที่ของเส้นกราฟของต้นทุนเฉลี่ย. จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงของเส้นกราฟของต้นทุนที่เพิ่มขึ้นซึ่งจะนำไปสู่การขึึ้นของผลกำไรที่สูงสุดและผลลัพธ์ของธุรกิจ

ต้นทุนคงที่เฉลี่ยจะลดลงอย่างต่อเนื่องไปกับ Output เนื่องจากต้นทุนคงที่รวมจะกระจายไปอยู่เหนือกว่าระดับของการผลิตซึ่งจะทำให้ต้นทุนเฉลี่ยต่ำลง.

ต้นทุนคงที่ที่ต่ำลงอย่างต่อเนื่องกับ Output ที่เพิ่มขึ้น. ธุรกิจสามารถ "กระจายค่าโสหุ้ย (overhead)" โดยการเพิ่มผลผลิตในระยะเวลาสั้นๆ. ต้นทุนคงที่เฉลี่ยจะจะไม่เคยไปอยู่ที่จุดศูนย์ถ้าต้นทุนคงที่รวมเป็นบวก.

ต้นทุนผันแปร (Variable Cost)

 ต้นทนผันแปรจะแปรผันโดยตรงกับผลผลิตตั้งแต่หน่วยของการผลิตมีการเพิ่มขึ้น.
ตัวอย่างของต้นทุนผันแปร เช่น วัตถุดิบและส่วนประกอบ, ค่าแรงของพนักงานชั่วคราวที่อาจจะมีการจ่ายเป็นวันหรือชั่วโมง, ค่าไฟฟ้า, ค่าน้ำปะปา, ค่าแก๊ส, ค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินที่ลงทุนไปซึ่งจะเกี่ยวข้องกับอายุการใช้งานและความเสียหาย. ต้นทุนผันแปรรวมที่สูงขึ้นจะทำให้ผลผลิตสูงตามขึ้นไปด้วย

ต้นทุนผันแปรเฉลี่ย (AVC) = ต้นทุนผันแปรรวม(TVC) / ผลผลิต(Q)

AVC จะขึ้นอยู่กับองค์ปัจจัยที่ผันแปรของการจ้างงานถูกเปรียบเทียบกับประสิทธิภาพการผลิตเฉลี่ย(โดยทั่วไปแล้วคือประสิทธิภาพของแรงงาน) ถ้าหน่วยที่เพิ่มเติมของแรงงานสามารถที่จะถูกจ้างด้วยต้นทุนที่คงที่มันจะผกผันความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภัณฑ์เฉลี่ยกับต้นทุนผัแปรเฉลี่ย. ดังนั้น เมื่อผลิตภัณฑ์เฉลี่ยกลายเป็นค่าสูงสุด, AVC ก็จะเป็นค่าที่ต่ำสุด

No comments:

Post a Comment