การวางแผนการผลิตที่มีประสิทธิภาพนั้นไม่ได้เพียงแค่สามารถผลิตและส่งงานให้กับลูกค้าทันตามกำหนดเท่านั้น แต่หมายความรวมถึง การวางแผนการผลิตอย่างไรให้มีต้นทุนที่ต่ำควบคู่กันไปด้วย
การวางแผนการผลิตเพื่อลดต้นทุนการผลิตนั้นมีวิธีการหลากหลายและเทคนิคมากมาย ดังนี้
1.วางแผนการผลิตแบบทันเวลาพอดี (just in time planning) ช่วยลดต้นทุนการผลิตทั้งในส่วนของการสต็อกวัตถุดิบ ชิ้นส่วน และการรอคอยในระหว่างกระบวนการ. หากเราสามารถ stock วัตถุดิบและชิ้นส่วนให้พอดีกับจำนวนที่ต้องใช้งานจริงได้ เราก็จะลดต้นทุนการผลิตสำหรับค่าวัตถุดิบส่วนเกิน ค่าจัดเก็บได้.
2.การจ้าง sub contractor ช่วยในการผลิตชิ้นส่วนหรือบางกระบวนการผลิต ช่วยลดต้นทุนเกี่ยวกับแรงงาน เช่นค่าสวัสดิการต่างๆ เพราะไม่ต้องจ้างพนักงานประจำ ทำให้ไม่ต้องจ่ายในส่วนนี้ แต่ทั้งนี้ต้องให้มั่นใจว่าสามารถควบคุมได้ทั้งคุณภาพและกำหนดการส่งมอบ
3.การวางแผนระยะยาว เช่น หากเราสามารถคาดการณ์ประมาณการความต้องการล่วงหน้าได้ เราก็จะวางแผนการผลิตได้ง่ายขึ้น ที่เห็นประสบปัญหากันหลายๆ โรงงานคือ งานด่วน ต้องเปิด overtime เพื่อผลิตงาน ทำให้ต้นทุนกรผลิตเพิ่มขึ้น รวมถึงเราจะสามารถสั่งซื้อวัตถุดิบได้คราวละมากๆ ทำให้ต้นทุนวัตถุดิบต่อหน่วยลดลง ต้นทุนการผลิตก็จะลดตามไปด้วย.
การวางแผนการผลิตเพื่อลดต้นทุนการผลิตตามที่กล่าวมาข้างบนไม่ใช่ว่าจะสามารถลดต้นทุนการผลิตได้เสมอไป เพราะมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องอีกหลายอย่าง ดังนั้นก่อนเลือหใช้วิธีการใดต้องพิจารณอย่างรอบคอบและมั่นใจได้ว่าจะได้มากกว่าเสีย..
ต้นทุนการผลิต เป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะกำหนดว่าสินค้าจะมีราถูกหรือแพง เพราะต้นทุนการผลิตมีส่วนประกอบหลายอย่างที่เป็นปัจจัยหลักในการผลิต ทั้ง วัสดุ, ค่าแรงงาน, ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ดังนั้น การลดต้นทุนการผลิต จึงสำคัญอย่างมากในการทำให้สินค้ามีต้นทุนต่ำลง หรือกำไรเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการแข่งขันในตลาด..
Tuesday, January 7, 2014
การลดต้นทุนการผลิตโดยการวางแผนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
-
ต้นทุนการผลิต ในงานกลึงนั้นก็คล้ายกับ ต้นทุนการผลิต ในงานขึ้นรูปชิ้นงานทั่วๆ ไป ที่จะประกอบไปด้วย ค่าใช้จ่ายแรงงาน, ค่าวัตถุดิบ และค่าใช้จ่า...
-
วิศวกรรมคุณค่ากับการลดต้นทุนการผลิต วิศวกรรมคุณค่า หรือ VE (Value Engineering) คือ การนำหลักทางทางวิศวกรรมเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ก...
-
องค์ประกอบของต้นทุนการผลิต ประกอบด้วยค่าใช้จ่าย 3 ส่วน คือ 1.ค่าใช้จ่ายด้านวัสดุ (Material Cost) 2.ค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน (Labor Cost) 3.ค...
No comments:
Post a Comment