ต้นทุนการผลิตนั้นมีวิธีการคิดที่แตกต่างกันออก
โดยทั่วไปจะแบ่งออกตามลักษณะของระบบการผลิต ดังนี้
1.ระบบต้นทุนสั่งทำ (Job Order Cost System)
ระบบงานสั่งทำหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Make
to Order การผลิตก็มีลักษณะเป็น
Special
มีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ จำนวนในการผลิตแต่ละผลิตภัณฑ์ก็ไม่มากนัก
เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตก็จะเป็นเครื่องจักรที่ค่อนข้างจะทำงานแบบยืดหยุ่น (Flexible
Machine) เครื่องกลึง,
เครื่อง milling เป็นต้น
ซึ่งสามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับเทคนิคในการผลิต.
และที่สำคัญกระบวนการในการผลิตก็จะแตกต่างกันออกขึ้นอยู่กับลักษณะรูปร่างของชิ้นงาน
ซึ่งจะรวมถึงวัตถุดิบ ชิ้นส่วนประกอบต่างๆ
ก็แตกต่างกันออกไปตามการออกแบบและความต้องการของลูกค้า.
สำหรับการควบคุมต้นทุนการผลิตสำหรับระบบงานส่งทำนั้น
จะยากตรงที่ความหลากหลายและซับซ้อนของกระบวนการที่แตกต่างกัน การควบคุมต้นทุนการผลิตที่จะเกิดประสิทธิภาพากที่สุดจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกๆ
ฝ่ายที่เกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลา
เริ่มตั้งแต่ฝ่ายขายต้องมีการประมาณการยอดขายสินค้าในแต่ละประเภทอย่างแม่นยำ
สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้คือ สินค้าประเภทสั่งทำ หรือ special นี้ จะมีระยะเวลาในการส่งงานค่อนข้างน้อย
ความยากจะอยู่ที่การประมาณยอดขายนี่แหละ เพื่อที่จะลดปัญหาในการขาดสต๊อกของสินค้าซึ่งโดยทั่วไปจะไม่ทำการสต๊อกไว้มากเพราะมีปริมาณการออเดอร์ครั้งละไม่มาก
ถ้าหากฝ่ายขายสามารถวิเคราะห์ตรงนี้จะแม่นยำก็จะสามารถลดปัญหาในการส่งมอบงานได้มากทีเดียว.
ส่วนต่อมาก็คือฝ่ายออกแบบ ซึ่งงานประเภทนี้การออกแบบมากกว่า 80% เป็นงานใหม่ที่ต้องการออกแบบใหม่ทุกครั้ง
ซึ่งค่อนข้างใช้เวลาในการออกแบบและทักษะพอสมควร การออกแบบที่ดี
ถึงแม้ว่างานแต่ละครั้งจะมีความแตกต่างกัน ถ้าสามารถออกแบบให้ใช้ชิ้นงานร่วมกันกับงานอื่นได้
(Standard Part) ก็จะสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตในส่วนของการสต๊อกวัตถุดิบและชิ้นส่วนลงได้
รวมถึงถ้ามี Standard Part ยิ่งมากเท่าไหร่ ทำให้เราสามารถสั่งซื้อคราวละมาก
และมีอำนาจต่อรองราคากับ Supplier เพื่อขอลดราคาให้ให้ต้นทุนการผลิตต่ำลงได้
และนอกจากนี้ในการออกแบบให้มีการใช้ชิ้นส่วนน้อยที่สุดเลือกใช้วัตถุดิบที่มีราคาถูก
แต่ทั้งนี้ทุกอย่างในการออกแบบก็ต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนดผลิตภัณฑ์ของลูกค้าเท่านั้น
หากมีการปรับเปลี่ยน การมีการนำเสนอและขอการอนุมัติจากลูกค้าก่อนเท่านั้น.
ส่วนต่อมาก็เป็นหน่วยงานคลังสินค้า (Store)
มีส่วนกับการช่วยลดต้นทุนการผลิตคือ
สต๊อกสินค้าเท่าที่จำเป็นเท่านั้นและมีปริมาณใช้อย่างเพียงพอ
ความยากก็จะอยู่ที่การควบคุมวัตถุดิบและชิ้นส่วนที่เป็น Special นี่แหละที่หลายๆ บริษัทประสบปัญหากันอยู่มาก
สำหรับเทคนิคและวิธีการควบคุมก็จะนำเสนอรายละเอียดในคราวต่อไป
อีกหน่วยงานหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้หน่วยงานที่กล่าวมาก่อนหน้านี้คือ
หน่วยงานผลิต. ลักษณะของผลิตภัณฑ์ก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นงาน Special ก็คือ มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างๆ
กันออกไปในแต่ละครั้ง ดังนั้นทักษะของพนักงานที่ต้องการย่อมสูงกว่างานประเภทผลิตคราวละมากๆ
(Mass Production) แน่นอน
มีความยากมากขึ้น
โอกาสที่จะเกิดงานเสียมากขึ้นนั่นก็คือต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง. ดังนั้นวิธีการที่หน่วยงานผลิตจะช่วยลดต้นทุนการผลิตต้นทุนในการผลิตงานประเภทสั่งทำได้ก็คือ
การลดของเสียในกระบวนการผลิต จะช่วยลดทั้งต้นทุนการผลิตของวัตถุดิบที่ต้องใช้,
แรงงานและเวลาในการผลิตที่ต้องผลิตซ้ำ
รวมถึงต้นทุนการผลิตอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
จริงๆ แล้วก็จะมีหน่วยงานอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน แต่ตามหน่วยงานที่ยกขึ้นมาจะเห็นภาพชัดเจนมากที่สุเมื่อมีการแบ่งระบบของต้นทุนออกตามระบบของการผลิต.
2.ระบบต้นทุนกระบวนการ (Process Cost System)
ต้นทุนกระบวนการจะใช้กับลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่มีการสั่งซื้อและผลิตคราวละมากๆ
(Mass Production) ในส่วนของฝ่ายขายก็จะเน้นในส่วนของการพยากรณ์ยอดขายโดยพิจารณาจากข้อมูลในอดีตเป็นรวมถึงการ
connection ที่ดีกับลูกค้า
การคาดการณ์ผลกระทบที่เกิดขึ้นในอนาคตด้วยปัจจัยต่างในอนาคต เช่น Product Life
cycle
หรือช่วงอายุของผลิตภัณฑ์ ซึ่งผลิตภัณฑ์ต่างๆ ก็จะมีอายุที่แตกต่างกันออกไป
อย่างพวกรถยนต์ระยะแรกที่ออกรุ่นใหม่มา 1-2 ปี อาจมีการผลิตจำนวนมากออกมา
ซึ่งถ้าหากเราเป็น Vendor หรือผู้รับจ้างช่วงผลิตชิ้นส่วนต้องมีการประมาณการการใช้พวกวัตถุดิบและการสต็อก
Finished Good ที่แม่นยำเพื่อลดความสูญเสียของต้นทุนการผลิตที่เกินความจำเป็น.
ส่วนในฝ่ายออกแบบก็คงจะต้องเน้นและสนับสนุนในทางการพัฒนาทั้งส่วนของโครงสร้างผลิตภัณฑ์ละกระบวนการผลิตเพื่อต้นทุนการผลิตมากกว่าที่จะออกแบบชิ้นงานใหม่
ซึ่งไม่ค่อยมีการปรับเปลี่ยนมากนัก.
สำหรับผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์เทคโนโลยีอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนมากเนื่องจากยุคไอทีและเทคโนโลยีที่มีการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน
ทำให้ผลิตภัณฑ์มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย.
ส่วนของหน่วยงานคลังสินค้าต้องมีการประสานงานกับฝ่ายขายเพื่อประมาณการการเก็บวัตถุดิบและชิ้นส่วนในการผลิตให้เพียงพอ,
ส่วนของการผลิตก็เช่นเดียวกันต้องพัฒนากระบวนการและประสิทธิภาพให้เพิ่มมากขึ้น
เนื่องจากงานประเภท Mass Production ค่อนข้างจะมีราคาขายที่ถูกกกว่างานแบบสั่งทำ
ต้องมีระบบเฝ้าติดตามและวิเคราะห์กระบวนการอย่างต่อเนื่องให้เกิดความสูญเสียต่าง
น้อยที่สุด เช่น ควบคุมเวลาของแต่ละกระบวนการอยู่อยู่ภายในเวลามาตรฐาน (Standard
Time)
ลดความผิดพลาดจากการผลิตโดยเฉพาะหากความผิดพลาดเกิดจากความเข้าใจผลิต
ก็จะทำให้เกิดงานเสียเป็นจำนวนมากเนื่องจากมีการผลิตงานชนิดเดียวกันครั้งละมากๆ
ทำให้เกิดต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าที่ควรจะเป็น
3.ระบบต้นทุนมาตรฐาน (Standard Cost System)
ระบบต้นทุนมาตรฐานจะแตกต่างจากระบบต้นทุนแบบสั่งทำและระบบต้นทุนกระบวนการซึ่งสองแบบแรกจะใช้ข้อมูลในอดีตเป็นหลักในการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต
เป็นต้นทุนการผลิตที่เกิดขึ้นจริง
และใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการพัฒนาและหาแนวทางในการลดต้นทุนการผลิต
ส่วนระบบต้นทุนมาตรฐานจะการวิเคราะห์และบริหารจัดการในเชิงระบบการตัดสินใจมากกว่าในระบบบริหารมากกว่า
โดยจะมองในภาพรวม ทิศทางของต้นทุนการผลิตเป็นอย่างไร จะมีนโยบายในการบริหารจัดการต้นทุนอย่างไร.
ต้นทุนมาตรฐานนี้จะไม่ผันแปรตามการผลิต
ใช้เป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหารจัดกี่ได้เป็นอย่างดี
No comments:
Post a Comment