ต้นทุนการผลิตเป็นการสำคัญมากต่อการผลิต
เนื่องจากจะเป็นตัวชี้วัดของประสิทธิภาพทั้งในด้านของตัวผลิตภัณฑ์, กระบวนการผลิต
และการบริหารการผลิต ดังนั้น
การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตจึงเป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างจริงจังและแม่นยำ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีสภาวะการแข่งขันทางการตลาดที่รุนแรงและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
การตัดสินใจในด้านต่างๆ
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการแข่งขันนั้นล้วนต่างก็มีต้นทุนเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งหมด
เช่น ต้องการเพิ่มผลผลิต ก็อาจต้องมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ต้นทุนด้านแรงงงานก็เพิ่มขึ้น,
ต้องการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีใหม่เข้ามาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการ
ต้นทุนด้านเครื่องจักรหรือสินทรัพย์ก็เพิ่มตามไปด้วย,
การปรับเปลี่ยนรูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ก็ทำให้ต้นทุนในการออกแบบ
พัฒนาและวิจัยเพิ่มขึ้น เป็นต้น.
การเพิ่มต้นทุนการผลิตตามที่กล่าวมานั้น
ดัชนีที่จะชี้วัดว่าเป็นการ “เพิ่มมูลค่า” หรือ “ความสูญเปล่า”
ดัชนีที่จะชี้วัดก็ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของการผลิตหลังการเปลี่ยนแปลงทั้งระยะสั้นและระยะยาว
รวมถึงความสามารถในแข่งขันทางการตลาดว่าเพิ่มขึ้นตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ก่อนหรือไม่
ดังนั้น
เราจึงมีการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตอย่างเป็นระบบและทำกันอย่างจริงจังทุกขั้นตอน
เน้นความถูกต้องของข้อมูล
ที่สำคัญอย่าลืมกฎพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้ได้กับทุกเรื่องคือ
“ข้อมูลที่เป็นจริงเท่านั้นที่จะสามารถนำไปวิเคราะห์ และหาแนวทางในการปรับปรุงได้”
ในบางธุรกิจอาจจะเป็นธุรกิจที่มีเงินทุนสูง
หากเกิดความผิดพลาดขึ้นมา
อาจะทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงขึ้นขั้นที่ธุรกิจต้องหยุดกิจการได้
และบางธุรกิจที่มีขนาดเล็กหรือธุรกิจที่พึ่งเริ่มกิจการอาจอยุดกลางคันก่อนที่จะเติบโตได้เนื่องจากการขาดสภาพความคล่องทางการเงินอันเนื่องมาจากการบริการต้นทุนการผลิตที่ผิดพลาดหรือไร้ประสิทธิภาพทั้งแบบที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ
สำหรับบล็อกนี้เขียนขึ้นเพื่อเผยแพร่
แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์เกี่ยวกับด้านต้นทุนการผลิต
ถึงแม้ผมจะมีความรู้ทางบัญชีไม่มากนัก และผมจะเน้นในส่วนของการบริหารตนทุนการผลิตพร้อมทั้งยกตัวอย่างและอธิบายกรณีต่างๆ
ให้เป็นกรณีศึกษา เพราะผมเคยเห็นมาบ่อยว่าบางบริษัท ผู้บริหารสนใจแต่การผลิต
ยอดขาย แต่ไม่ได้ใส่ใจในรายละเอียดของต้นทุนมากนัก
หรือบางทีผู้บริหารอาจจะมองว่าเมื่อยอดขายเยอะก็ได้กำไรเองแหละ แต่บางทีลืมมองว่า
ถ้าเราลดต้นทุนได้ กำไรก็จะเพิ่มตามด้วย ตามหลักการเพิ่มกำไร ดังต่อไปนี้
แนวคิดในการเพิ่มกำไร
1.ลดต้นทุนการผลิต
โดยการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต แล้วทางลดในส่วนที่ไม่จำเป็นออกไป
2.เพิ่มปริมาณยอดขาย
ทำให้ยอดกำไรรวมสูงขึ้น
3.เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
โดยหาวิธีการปรับปรุงกระบวนการผลิต
วิธีการทำงานให้มียอดผลิตต่อหน่วยเวลาที่สูงขึ้น
ทั้ง
3 ข้อนี้แหละ จะทำให้กิจการการผลิตสามารถทำกำไรได้อย่างต่อเนื่อง
ซึ่งวิธีการนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเช่นกัน
หากรู้จักวิธีการจัดการที่ถูกต้อง มีการทำงานต่อเนื่อง มีการเอาใจใส่อย่างจริงจัง
กำไรเป็นกอบเป็นกำก็อยู่แค่เอื้อม.
No comments:
Post a Comment