จากบทความเรื่อง
ส่วนประกอบของต้นทุนการผลิต เราก็จะรู้แล้วว่า
ต้นทุนการผลิตนั้นประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
บทความนี้เราจะมาดูกันเรื่องการคำนวณต้นทุนการผลิต
การคำนวณต้นทุนการผลิตเพื่อให้ง่ายในการคำนวณผมจะแบ่งการคำนวณออกตามลักษณะของต้นทุนแล้วกันนะครับ
ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
1.ระบบต้นทุนการผลิตของงานสั่งทำ (Job Order Cost System)
ระบบต้นทุนการผลิตของงานสั่งทำ
ใช้กับงานผลิตที่มีกระบวนการผลิตซับซ้อน, จำนวนผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย, ปริมาณในการผลิตแต่ละ
Lot น้อย.
โดยส่วนมากพบกับผลิตภัณฑ์เฉพาะทาง เช่น Jig-Fixture, Special Tool, แม่พิมพ์ เป็นต้น ซึ่งผลิตภันฑ์เหล่านี้จะถูกใช้เป็นเครื่องมือและอุปกรณ์ในการผลิตมากกว่าที่จะเป็นชิ้นส่วนหลัก.
ความยากของการคำนวณต้นทุนการผลิตของงานสั่งทำนั้น จะอยู่ที่ความซับซ้อนของผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต
ทำให้ข้อมูลต้นทุนการผลิตจริงนั้นมักจะคลาดเคลื่อนอยู่เสมอ ทำให้ฝ่ายบัญชีไม่สามารถหาต้นทุนที่แท้จริงของผลิตภัณฑ์ได้.
ดังนั้นฝ่ายวางแผนการผลิตและฝ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องจึงต้องมีการวางแผนในการผลิตและการควบคุมต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ
มีการเก็บข้อมูลที่แม่นยำเพื่อลดความคลาดเคลื่อนของข้อมูลอันเกิดจากความซับซ้อนของผลิตภัณฑ์และกระบวนการ.
การคำนวณต้นทุนการผลิตของงานสั่งทำโดยปกติแล้วจะคำนวณโดยฝ่ายวิศวกรรมเนื่องจากส่วนมูลส่วนมากจะเป็นลักษณะของข้อมูลทางด้านเทคนิค
ต้องมีการใช้เทคนิคทางวิศวกรรมเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ และจำเป็นมีการคำนวณแบบผลิตภัณฑ์ต่อผลิตภัณฑ์.
2.ระบบต้นทุนการผลิตแบบกระบวนการ (Process Cost System)
ลักษณะของระบบต้นทุนการผลิตแบบกระบวนการโดยรวมแล้วจะตรงกันข้ามกับระบบต้นทุนการผลิตแบบสั่งทำ
คือ จำนวนผลิตภัณฑ์จะน้อย, การผลิตแต่ละ Lot มีจำนวนมาก (Mass Production), มีกระบวนการผลิตที่แน่นอน.
ลักษณะของต้นทุนจะเน้นที่การผลิตจำนวนมาก
ผลิตเพื่อสต๊อกตามประมาณการยอดขายองฝ่ายขาย.
การคำนวณการผลิตของต้นทุนแบบกระบวนการสามารถที่จะคำนวณได้ทั้งแบบถัวเฉลี่ยและแบบถ่วงน้ำหนัก
ความคลาดเคลื่อนในกระบวนการผลิตมีน้อย
ทำให้การคำนวณต้นทุนของฝ่ายบัญชีทำได้ง่ายการคำนวณต้นทุนแบบสั่งทำ
3.ระบบต้นทุนการผลิตแบบมาตรฐาน (Standard Cost System)
ลักษณะของต้นทุนมาตรฐานจะแตกต่างกันกับต้นทุนแบบงานสั่งทำกับต้นทุนกระบวนการโดยสิ้นเชิง
คือ ต้นทุนการผลิตงานสั่งทำกับต้นทุนการผลิตแบบกระบวนการจะใช้ข้อมูลในอดีตมาใช้อ้างอิงในการคำนวณต้องจะใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากกว่า
แต่ต้นทุนมาตรฐานจะมองในเชิงของภาพรวมและใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายด้านต้นทุนของฝ่ายบริหารมากกว่า
เช่น ผลิตภัณฑ์ประเภท A มีต้นทุนด้านวัตถุดิบที่สูง
เมื่อมาวิเคราะห์แล้ววัตถุดิบส่วนมากนำเข้ามาจากต่างประเทศซึ่งมีราคาแพงบวกค่าค่าจัดการในการนำเข้า
ทำให้ฝ่ายบริหารอาจพิจารณาให้หา supplier ภายในประเทศที่มีราคาถูกกว่า เป็นต้น
No comments:
Post a Comment