มาตรการในการควบคุมต้นทุนการผลิตโดยการควบคุมต้นทุนวัสดุ
หนึ่งในแนวทางในการควบคุมต้นทุนการผลิต
คือ การควบคุมต้นทุนวัสดุทั้งวัสดุทางตรงและวัสดุทางอ้อม
โดยการควบคุมวัสดุคงคลังให้ต่ำที่สุดแต่ต้องไม่ขาดสต๊อก มีปริมาณเพียงพอต่อการผลิต
นโยบายในการควบคุมต้นทุนวัสดุ
นโยบายในการควบคุมต้นทุนวัสดุ
สามารถทำได้โดยการรักษาอัตราคงคลังหมุนเวียนให้อยู่ในเกณฑ์ที่ตั้งไว้
นโยบายของอัตราคงคลังจะถูกกำหนดโดยฝ่ายบริหารซึ่งมีความสัมพันธ์กับสถานะทางบัญชีและการดำเนินกิจการของบริษัท
เช่น กำหนดให้ฝ่ายคลังสินค้าจัดเก็บวัสดุในคลังให้เพียงพอต่อการใช้งานไม่เกิน 3
เดือน.
ดังนั้นฝ่ายคลังสินค้าต้องสนองนโยบายโดยการกำหนดมาตรฐานการในการควบคุมวัสดุคงลังเพื่อให้อยู่ในระดับที่ตั้งไว้
มาตรการในการควบคุมอัตราวัสดุคงคลังหมุนเวียน
- การจัดซื้อวัสดุ
โดยเฉพาะวัสดุทางตรงควรผ่านการตรจสอบจากฝ่ายวางแผนการผลิตด้ว
เนื่องจากฝ่ายวางแผนการผลิตจะรู้ดีว่าปริมาณความต้องการในปัจจุบันอยู่ที่เท่าไหร่ ปัญหาในการผลิตที่พบเห็นกันมากคือ
การประสานงานที่ขาดประสิทธิภาพระหว่างฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น
ข้อมูลการพยากรณ์การผลิตจากฝ่ายขายที่ไม่แม่นยำทำให้ฝ่ายวางแผนการผลิตวางแผนคลาดเคลื่อน
ส่งส่งผลทำให้ฝ่ายคงคลังจัดเก็บปริมาณสินค้าอยู่ในระดับที่ไม่เหมาะสม
- การซื้อวัสดุทุกครั้งต้องผ่านกระบวนการอนุมัติก่อน
ทำให้บางครั้งซื้อสินค้าที่ไม่ตรงกับความต้องการหรือไม่จำเป็นเข้ามา
- ซื้อวัสดุที่มีการรับประกัน
เมื่อมีปัญหาสามารถเปลี่ยนได้ทันทีภายใต้เงื่อนไขการรับประกัน
- ผู้ขายควรมีหลักประกันว่าสินค้ามีปริมาณเพียงพอ
คุณภาพตามหลักเกณฑ์ และสามารถส่งได้ทันตามกำหนด
- มีการทบทวนปริมาณขั้นต่ำในการจัดเก็บ
(Minimum stock) ให้ทันสมัยอยู่เสมอ
- กำหนดปริมาณการสั่งซื้อในแต่ละครั้งให้เหมาะสม
ข้อดีในการควบคุมวัสดุคงคลังที่มีประสิทธิภาพ
การควบคุมต้นทุนการผลิตด้วยการบริหารจัดการการเก็บรักษาวัสดุคงคลังให้มีประสิทธิภาพนั้นส่งผลดีดังนี้
คือ
1.ลดความสิ้นเปลืองในการใช้วัดุ
2.ลดต้นทุนด้านวัสดุคงคลัง
3.ลดการบริหารการจัดเก็บ
เช่น พื้นที่ในการจัดเก็บ
4.ลดความเสียหายจากการจัดเก็บที่นานเกินไป
5.ลดโอกาสที่วัสดุจะขาดแคลน
6.ทำให้ต้นทุนใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด
ทำให้ฝ่ายขายสามารถกำหนดราคาขายได้หลากหลาก มีอำนาจในการแข่งขันมากขึ้น.
No comments:
Post a Comment