การวิเคราะห์ต้นทุนอุตสาหกรรม เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการสะสมค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต เพื่อให้สามารถประมวลผลข้อมูลค่าใช้จ่ายสรุปเป็นต้นทุนการผลิตของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการสะสมค่าใช้จ่ายด้านการขายและการบริหารเพื่อกำหนดหาต้นทุนสินค้าขาย กระบวนการการในการบันทึกและประมวลผลข้อมูลค่าใช้จ่าย จะเป็นกิจกรรมของการบัญชีต้นทุน ดังนั้น ระบบบัญชีต้นทุนจึงมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการวิเคราะห์ต้นทุนอุตสาหกรรม
การบัญชีต้นทุน
การบัญชีต้นทุน เป็นวิธีการในการหาต้นทุนตามวัตถุประสงค์ของฝ่ายบริหาร หรือเป็นศิลปะในการค้นหาต้นทุนเพื่อให้ในการบริหารและตัดสินใจเกี่ยวกับต้นทุน ขอบเขตของการบัญชี ต้นทุนจึงครอบคลุมทั้งด้านการหาต้นทุนที่ได้ขึ้นแล้วจากการผลิต แยกเป็นต้นทุนแผนกศูนย์การผลิต หรือต้นทุนผลิตภัณฑ์ และยังใช้ข้อมูลในการบริหารเกี่ยวกับต้นทุนที่เกิดขึ้นแล้วและต้นทุนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ระบบบัญชีต้นทุน เป็นระบบในการดำเนินงานเกี่ยวกับ การบันทึก การแยก การสะสม การควบคุม และการจัดสรรค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อกำหนดเป็นต้นทุนในการดำเนินงาน โดยมีการแยกประเภทต้นทุนไปตามพฤติกรรมของต้นทุน กิจกรรม หรือกระบวนการที่เกี่ยวข้อง ผลิตภัณฑ์และลักษณะงานอื่นๆ ทั้งนี้ จะเป็นไปตามชนิดของการประเมินหรือการวัดผลที่ต้องการ
ค่าใช้จ่ายต่างๆ จะบันทึกสะสมในบัญชีของงาน กระบวนการ ผลิตภัณฑ์ หรือธุรกิจส่วนใดๆ โดยจะสามารถใช้ข้อมูลที่ได้จากหน่วยงานบัญชีต้นทุนซึ่งผ่านการคำนวณ จัดทำรายงาน และวิเคราะห์ต้นทุนของการดำเนินงานต่างๆ เช่น การดำเนินการของกระบวนการผลิตหรือบริการ การดำเนินงานของโครงการพิเศษต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีการจัดเตรียมข้อมูลสำหรับผู้บริหารเพื่อใ้ช่วยในการกำหนดแผนงาน การควบคุม และการตัดสินใจทางเลือกต่างๆ ของการดำเนินงาน
การบัญชีต้นทุน มีหน้าที่บันทึกค่าใช้จ่ายเพื่อกำหนดต้นทุนการดำเนินงานทั้งทางการผลิตและการบริการ โดนมีวัตถุประสงค์หลักๆ 3 ประการ คือ
1.จัดหาข้อมูลต้นทุนเพื่อวัดผลการดำเนินงาน โดยใช้ในการคำนวณรายได้และประเมินผลกำหนดมูลค่าของพัสดุคงคลัง โดยการจัดทำงบรายได้และงบดุล(Income Statement and Balance Sheet)
2.จัดหาข้อมุลให้แก่ผู้บริหารในการควบคุมต้นทุนการดำเนินงานหรือควบคุมกิจกรรมขององค์กร โดยมีการจัดทำรายงานการควบคุม
3.จัดหาข้อมูลเพื่อวางแผนและการตัดสินใจ โดยการจัดทำรายงานการศึกษาและวเิคราะห์ (Studied and Analysis Report)
ต้นทุนการผลิต เป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะกำหนดว่าสินค้าจะมีราถูกหรือแพง เพราะต้นทุนการผลิตมีส่วนประกอบหลายอย่างที่เป็นปัจจัยหลักในการผลิต ทั้ง วัสดุ, ค่าแรงงาน, ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ดังนั้น การลดต้นทุนการผลิต จึงสำคัญอย่างมากในการทำให้สินค้ามีต้นทุนต่ำลง หรือกำไรเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการแข่งขันในตลาด..
Wednesday, February 11, 2015
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
-
ต้นทุนการผลิต ในงานกลึงนั้นก็คล้ายกับ ต้นทุนการผลิต ในงานขึ้นรูปชิ้นงานทั่วๆ ไป ที่จะประกอบไปด้วย ค่าใช้จ่ายแรงงาน, ค่าวัตถุดิบ และค่าใช้จ่า...
-
วิศวกรรมคุณค่ากับการลดต้นทุนการผลิต วิศวกรรมคุณค่า หรือ VE (Value Engineering) คือ การนำหลักทางทางวิศวกรรมเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ก...
-
องค์ประกอบของต้นทุนการผลิต ประกอบด้วยค่าใช้จ่าย 3 ส่วน คือ 1.ค่าใช้จ่ายด้านวัสดุ (Material Cost) 2.ค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน (Labor Cost) 3.ค...
No comments:
Post a Comment