Friday, February 19, 2016

แนวคิดเกี่ยวกับบัญชีต้นทุน

ต้นทุนเป็นมูลค่าของทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตหรือการให้บริการ เป็นส่วนที่เรียกว่ามุลค่าของปัจจัยเข้า (Input Value) ของระบบ ต้นทุนจึงเป็นเงินสดหรือค่าใช้จ่ายในรูปแบบอื่นที่จ่ายไปเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการหรือผลผลิต ในทางธุรกิจ ต้นทุน คือ ค่าใ้จ่ายส่วนที่จ่ายไฟเพื่อให้ได้มาซึ่งซึ่งผลตอบแทนหรือรายได้ ต้นทุนจึงเป้นส่วนสำคัญในการตัดสินใจทางธุรกิจต่างๆ

ต้นทุน ค่าใช้จ่าย และความสูญเสีย

ต้นทุน ค่าใช้จ่าย และความสูญเสีย โดยแท้จริงเป็นสิ่งเดียวกัน แต่จะมีความหมายที่แตกต่างกันในด้านความหมายในารใช้งาน ต้นทุนและความสูญเสียต่างก็เป็นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของเงินสดหรือสิ่งแลกเปลี่ยนใดๆ ย่อมถือได้ว่าเป็นสิ่งที่จ่ายไผเพื่อให้ได้ผลผลิต
ค่าใช้จ่าย (Expense) หมายถึง ต้นทุนในการให้ได้รายได้สำหรับช่วงระยะเวลาใดๆ เช่น เงินเดือนในสำนักงาน ค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเงินหรือสิ่งแลกเปลี่ยนที่จ่ายไปเพื่อใช้ในการบริการซึ่งตัดลดทอนจากส่วนใฃรายได้ในงวดบัญชีใดๆ จึงมักจะใช้ในด้านรายได้ทางการเงินมากกว่าใช้ในระบบบัญชีทรัพย์สิน
ต้นทุน (Cost) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปสำหรับปัจจัยทางการผลิตเพื่อให้เกิดผลผลิต ต้นทุนจึงเป็นส่วนที่ใช้สำหรับนิยาม อัตราผลิตภาพหรือผลิตภาพ (Productivity) ซึ่งเท่ากับผลผลิต (Output) หารด้วยปัจจัยนำเข้า (Input) ต้นทุนจึงเป็นมูลค่าที่วัดได้ในเชิงเศรษฐศาสตร์ของทรัพยากรที่ใช้ และต้นทุนมีลักษณะที่ใช้จ่ายไปเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์หรือการบริการที่ถือเป็นสินทรัพย์ได้ เช่น คงคลังของวัสดุ งานระหว่างทำ และสินค้าสำเร็จรูป
ต้นทุน (Cost) กับ ความสูญเสีย (Lost) ความจริงแล้วมีความหมายในเชิงเป็นค่าใช้จ่ายทั้งคู่เหมือนกัน แต่ถ้าจะพิจารณาความแตกต่างของความหมายพอจะสรุปง่ายๆ ได้ดังนี้
ต้นทุน คือ ค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปแล้วเกิดผลผลิตหรือบริการที่่เป็นสินทรัพย์
ต้นทุน คือ ข้อมูลทางบัญชี เพื่อใช้ในการวางแผนและควบคุมการดำเนินงาน ในด้านการวางแผน ข้อมูลต้นทุนที่ได้จะช่วยในการทำงบประมาณและประมาณการต้นทุนการผลิต กำหนดราคาขาย ประมาณการผลกำไร และใช้ในการตัดสินใจการลงทุนและการขยายงาน ในดา้นการควบคุม จะใช้ในการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับงบประมาณต้นทุนที่กำหนดไว้เพื่อช่วยให้ฝ่ายบริหารรับรู้ถึงการปฏิบัติที่ไม่มีประสิทธิภาพเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี
ความสูญเสีย คือ ค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปแล้วเกิดผลได้น้อยกว่าหรือค่าเสียหายที่ต้องจ่ายโดยไม่มีผลตอบแทน และเป็นค่าใ้จ่ายที่ถูกตัดออกจากส่วนของผู้ถือหุ้นมากกว่าที่จะหักจากส่วนของการลงทุน ความสูญเสียที่เกิดขึ้นได้จากการตัดสินใจที่ผิดพลาดหรือเกิดจากสิ่งผิดปกติตามธรรมชาติ เช่น ไฟไหม้ ตึกถล่ม เป้นต้น
ต้นทุนกับความสูญเสียเป็นสิ่งเดียวกัน เพียงแต่มีเส้นแบ่งเขตซึ่งทำให้ตนทุนกลายเป็นความสูญเสียเมื่อผลได้น้อยกว่าค่าใช้จ่าย เมื่อปรับค่าใช้จ่ายให้เกิดผลประโยชน์มากขึ้นทำให้สร้างผลได้มากกว่าความสูญเสียจะกลายเป็นต้นทุนไป การเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายในเชิงต้นทุนจึงเป็นสิ่งที่ไม่น่ากังวลเนื่องจากจะได้ผลประโยชน์เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันถ้าสามารถลดค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นต้นทุนลงได้โดยผลผลิตเท่าเดิมหรือมากกว่าก็จะเป็นการดี แนวคิดตรงนี้คงจะสามารถช่วยให้ผู้บริหารเลิกกังวลต่อต้นทุนและกังวลต่อความสูญเสียมากกว่า.

No comments:

Post a Comment