Monday, February 22, 2016

ประเภทของต้นทุน

ต้นทุนมีความหมายที่แตกต่างกันไปโดยมีรูปแบบและลักษณะการประเมินต่างๆ กัน รวมทั้งเวลาเมื่อต้นทุนนั้นเกี่ยวข้องอยู่ การใช้ต้นทุนสำหรับการวิเคราะห์โครงงานต่างๆ จึงมีความหมายที่แตกต่างกันออกไป เช่น ต้นทุนในความหมายทางบัญชีจะแตกต่างกับต้นทุนในทัศนะของผู้บริหาร ต้นทุนสามารถแบ่งออกเป็นชนิดต่างๆ ที่เหมาะสมกับการใช้งานและลักษณะปัญหาที่จะวิเคราะห์ ต้นทุนชนิดหนึ่งใช้ได้กับงานลักษณะหนึ่งแต่จะใช้กับงานอีกลักษณะหนึ่งไม่ได้ เช่น ต้นทุนที่ใช้ในทางการบัญชีจะเป็นต้นทุนเพื่อการตัดสินใจบางอย่างไม่ได้ ตัวอย่างง่ายๆ คือ ต้นทุนมาตรฐานของสินค้าในระบบัญชีจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเนื่องจากราคาวัตถุดิบที่เปลี่ยนไป ต้นทุนมาตรฐานดังกล่าวจะใช้เป็นต้นทุนเพื่อกำหนดให้ราคาสุงขึ้นไม่ได้ ในการประเมินต้นทุนถ้าใช้ชนิดของต้นทุนไม่ถูกต้ิงหรือใช้วิธีการประเมินต้นทุนที่ไม่เหมาะสม จะทำให้การวิเคราะห์โครงการถูกบิดเบือนไปได้ ตัวอย่างเช่น การประเมินต้นทุนสินทรัพย์ซึ่งมีค่าใช้จ่ายล่วงหน้าจำพวกค่าเช่าและค่าประกันภัย ถ้าเรานำมาใช้เป้นส่วนในการคิดกำไรขาดทุนของธุรกิจในขณะที่เวลาในการใช้สินทรัพย์นั้นๆ ยังไม่หมดสิ้นก็จะผิดจากข้อเท็จจริงไป นอกจากนี้ ต้นทุนที่เกิดขึ้นจากค่าใช้จ่ายขณเวลาต่างๆ กัน จะมีค่าแตกต่างกันเนื่องจากความสัมพันธ์ของเวลากับเงิน การประเมินค่าใ้จ่าย ณ จุดที่เวลาต่างกันโดยไม่นำเอาอัตราดอกเบี้ยมาคิดด้วย ก็อาจจะทำให้การวิเคราะห์ผิดไปได้
ต้นทุนมีรูปแบบและลักษณะของการประเมินแตกต่างกันออกไป สามารถแยกเป็นประเภทต้นทุนต่างๆ ได้ดังนี้
- ต้นทุนเสียโอกาส (Opportunity Cost)
- ต้นทุนอนาคต (Future Cost)
- ต้นทุนจม (Sunk Cost)
- ต้นทุนตามบัญชี (Book cost)
- ต้นทุนการทดแทนสินทรัพย์ (Replacement Cost)
- ต้นทุนเปลี่ยนย้ายได้ (Postponable Cost)
- ต้นทุนเพิ่ม (Increment Cost)
- ต้นทุนเพิ่มต่อหน่วย (Marginal Cost)
- ต้นทุนเงินสด (Cash Cost)
- ต้นทุนประจำงวด (Period Cost)
- ต้นทุนเพื่อการตัดสินใจ (Desicion Maing Cost)
- ต้นทุนแยกได้และต้นทุนร่วม (Tracable and Common Cost)
- ต้นทุนควบคุมได้และต้นทุนลดได้ (Controllable and Reducible Cost)
- ต้นทุนทางตรงและต้นทุนทางอ้อม (Direct Cost and Indirect Cost)
- ต้นทุนค้างจ่ายและต้นทุนรอการตัดบัญชี (Accrued and deferred Cost)
- ต้นทุนคงที่และต้นทุนแปรผัน (Fix Cost and Variable Cost)
- ต้นทุนเริ่มแรกและต้นทุนดำเนินงาน (First and Operating cost)

No comments:

Post a Comment