Saturday, January 7, 2017

แนวทางการลดต้นทุนการผลิตด้วยการบริหารระบบ Logistic & Supply Chain

ในธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงในปัจจุบัน การแข่งขันด้านราคาก็มีผลเป็นอย่างมาก ซึ่งจะเห็นได้ว่าสินค้าจากประเทศจีนได้แพร่กระจายทั่วหลายในประเทศไทย โดยมีจุดเด่น คือ ราคาถูก จนบางครั้งเมื่อสินค้านั้นชำรุดเสียหายก็แทบจะไม่ต้องเสียดายกันเลยทีเดียว.
ถ้าดูจากที่ตั้ง ระยะทางจากประเทศจีนมายังประเทศไทยนับว่าไกลมาก จนไม่น่าเชื่อว่าสินค้าจะมีราคาถูกขนาดนี้ ตีสินค้าไทยกระจุยถึงแม้ว่าคุณภาพจะดีบ้าง ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างร้านทุกอย่าง 20 บาท เป็นต้น.
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการสามารถจำหน่ายสินค้าได้ในราคาที่ต่ำ สามารถแข่งขันกับสินค้าภายในประเทศได้ก็คือ การลดต้นทุนการผลิตด้วยการบริหารระบบ โลจิสติกส์ (Logistic) และ ซัพพลายเชน (Supply Chain)
โลจิสติกส์และซัพพลายเชนเป็นระบบที่งานสอดคล้องกัน เกื้อหนุนกัน บางครั้งอาจจะบอกได้ว่าโลจิสติกส์เป็นส่วนหนึ่งของซัพพลายเชน หรือ ซัพพลายเชนเป็นส่วนหนึ่งของโลจิสติกส์ก็ได้ ซึ่งนั่นอาจจะไม่ใช่ประเด็นที่ต้องนำมาถกเถียงกันมากนัก.
ระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชน เป็นระบบที่ค่อนข้างกว้างครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการตลาด การขาย การผลิต ผู้ขาย ผู้รับเหมาช่วง สินค้าคงคลัง บัญชี ฝ่ายบุคคล ฝ่ายการเงิน การส่งมอบ ลูกค้า นั่นก็คือทั้งหมดในระบบของวงจรธุรกิจนั่นเอง.
ระบบโลติสจิกส์และซัพพลายเชนจะเข้ามาช่วยในการลดต้นทุนการผลิตได้อย่างไร?
ตัวอย่างที่ 1
การที่เราสามารถส่งสินค้าได้ครั้งละมากๆ ไปพร้อมกันในคราวเดียวกันช่วยลดต้นทุนการขนส่งต่อหน่วยได้ เช่น

  • ค่าสินค้า 100 บาทต่อหน่วย
  • ค่าขนส่ง 1,000 บาทต่อเที่ยว (ส่งได้สูงสุดเที่ยวละ 100 หน่วย)
  • ดังนั้น ถ้าส่งของแค่หนึ่งชิ้น สินค้าชิ้นนั้นก็จะมีราคาชิ้นละ 1,100 บาท แต่ถ้าส่งสินค้าเต็มที่ 100 ชิ้น สินค้าก็จะมีราคาแค่ 11 บาทต่อชิ้นเท่านั้นเอง. 



No comments:

Post a Comment