Monday, January 9, 2017

โลจิสติกส์ (Logistic)



ระบบโลจิสติกส์ เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การเคลื่อนย้ายสินค้า เริ่มตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ นำไปเก็บรักษา แปรรูป บริหารคงคลัง การนำส่งให้กับลูกค้า.
ดังนั้นการนำระบบระบบโลจิสติกส์เข้ามาเพื่อช่วยในการวางแผน วิเคราะห์ และควบคุมจะช่วยในการลดต้นทุนการผลิตได้เป็นอย่างมาก ดังตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในปัจจุบันและใกล้ตัวผู้บริโภคอย่างเราๆ เช่น ร้านทุกอย่าง 20 บาท ผมเคยสงสัยว่าทำไมสินค้าหลายๆ อย่างในร้านไม่น่าจะขายได้ที่ราคา 20 บาท พอเริ่มหาข้อมูลยิ่งอึ้งไปใหญ่ เมื่อพบว่าสินค้าแทบจะทั้งหมดในร้านทุกอย่าง 20 บาทมาจากประเทศจีนไกลมากกว่า 2 พันกิโลเมตร ทำไมถึงสามารถนำสินค้าเข้ามาขายได้ราคาต่ำอย่างนี้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วราคาขายหน้าร้านในไทย 20 บาท  ซึ่งรวมกำไรแล้ว ดังนั้น ราคาต้นทุนที่นำเข้ามาต้องถูกมากแน่นอน อาจจะไม่เกิน 10 บาทต่อชิ้นด้วยซ้ำไป.
หลังจากที่หาข้อมูลประกอบเพิ่มเติมจึงได้รูจักกับคำว่า โลจิสติกส์ มากยิ่งขึ้น. จริงๆ แล้วตัวสินค้า คุณภาพของสินค้าไม่ได้มีอะไรมาก เป็นสินค้าเกรดต่ำถึงเกรดทั่วไปเท่านั้น แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีคณภาพละคุณค่า คุณภาพและคุณค่าที่แท้จริงของสินค้าอยู่ที่ตรงตามความต้องการ ราคา  เหมาะสม ตรงตามความต้องการและความพอใจของลูกค้าหรือไม่เท่านั้นเอง. นั่นก็หมายความว่าร้านสินค้าทุกอย่าง 20 บาท เป็นการทำตลาดล่างเฉพาะกลุ่มสำหรับผู้มีรายได้น้อยหรือไม่ต้องการสินค้าคุณภาพสูงนั่นเอง.
การนำระบบโลจิสติกส์มาใช้ในการบริหารธุรกิจร้าน เริ่มต้นมาตั้งแต่ผู้ผลิตที่เน้นการผลิตและขายเป็นจำนวนมาก เน้นสินค้าคุณภาพที่ไม่สูง วัตถุดิบเกรดต่ำ แรงงานค่าแรงต่ำซึ่งนั่นคือผลิตในประเทศจีนนั่นเอง ข้อดีของการผลิตในประเทศจีนก็คือ เป็นประเทศใหญ่ เป้นวัตถุดิบในการผลิตเหลือเฟือตั้งแต่คุณภาพเกรดต่ำจนถึงคุณภาพระดับสูง ด้านกระบวนการผลิต เครื่องจักร นั้น ประเทศจีนสามารถผลิตเครื่องจักรได้เอง ทำให้ไม่ต้องมีการนำเข้าเครื่องจักรในต่างประเทศ ส่วนในเรื่องแรงงาน ประเทศจีนมีประขากรมากกว่า 1 พันล้านคน คนจนมีเยอะทำให้ต้องแข่งขัน แย่งงานกัน ทำไม่ค่าแรงในประเทศจีนถูกมาก เมื่อรวมกันทั้ง วัตถุดิบในการผลิต + เทคโนโลยี เครื่องจักรในการผลิต + แรงงาน = สินค้าที่มีราคาถูก.
คำถามต่อมาคือ ถึงแม้สามรรถผลิตสินค้าได้ในราคาถูก มันก็ยังอยู่ในประเทศจีน ยังไม่มาถึงประเทศไทย คิดดูเล่น กว่าจะขนส่งมายังประเทศไทย ซึ่งมีระยะทางมากกว่า 2 พันกิโลเมตร ราคามันก็ถึงเพิ่มขึ้นอีกเป็นเท่าตัวแน่นอน. คำตอบก็คือ นำระบบบริหารงาน โลจิสติกส์ ที่มีประสิทธิภาพมาใช้ในการวางแผน วิเคราะห์ ควบคุม จัดการ เริ่มตั้ง แต่การบริหารความต้องการของลูกค้า บริหารการผลิต บริหารสินค้าคงคลัง บริหารการจัดส่ง บริหารการขาย จนกระทั่งสินค้ามาถึงลูกค้าปลายทางนั่นเอง.
เพื่อให้มองเห็นภาพชัดเจน จะขอนำเสนอตัวอย่างง่ายๆ
สินค้า A ราคาชิ้นละ 5 บาท
ค่าขนส่ง นำเข้าสินค้าจากประเทศจีนมาไทย เที่ยวละ 20,000 บาท โดยสามารถขนสินค้าได้เต็มที่ 20,000 ชิ้นต่อเที่ยว
ถ้าเราสั่งซื้อสินค้าเพื่อนำมาขายจำนวน 10 ชิ้น ต้นทุนสินค้า คือ 5 บาท/ชิ้น x 10 + ค่าขนส่ง 20,000 บาท เฉลี่ยแล้วต้นทุนสินค้าก่อนบวกกำไร จะอยู่ที่ประมาณ 2,005 บาทต่อชิ้น ซึ่งแน่นอนว่าเป็นไปไม่ได้อยู่แล้วที่จะนำมาขายในราคา 20 บาทต่อชิ้น.
และถ้าเราสั่งซื้อสินค้าเพื่อนำมาขายจำนวน 20,000 ชิ้น ต้นทุนสินค้า คือ 5 บาท/ชิ้น x 20,000  + ค่าขนส่ง 20,000 บาท เฉลี่ยแล้วต้นทุนสินค้าก่อนบวกกำไร จะอยู่ที่ประมาณ 6 บาทต่อชิ้น จะเห็นว่าราคาต่ำกว่า 6 บาทด้วยซ้ำ หากไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าเช่าร้าน ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าแรงพนักงานขายส่วนต่างของกำไรก็ที่ที่ 14 บาทต่อชิ้น ถ้าขายหมดก็จะได้กำไรถึง 280,000.
จากตัวอย่าง A แสดงการบริหารโลจิสติกส์แบบง่ายๆ โดยเน้นไปที่การขายจำนวนมาก เพื่อให้มีต้นทุนในด้านการขนส่งต่ำที่สุด แต่ในความเป็นจริงแล้ว ระบบโลจิสติกส์มีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอักมากกมาย ขึ้นอยู่กับแต่ละธุรกิจ ที่จะมีการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ เพื่อหาจุดที่ต้องปรับปรุง ลดต้นทุนอย่างไรบ้าง รวมถึงวิธีการ เครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการบริหารจัดการที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด.

No comments:

Post a Comment